การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการประเมินคุณภาพการศึกษาของผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการประเมินคุณภาพการศึกษาของผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร
รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพัฒนา ใช้แนวคิดโปรแกรมเชิงสถาบันของ Boyle และการเรียนรู้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1. การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการประเมินคุณภาพการศึกษาของผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีดังนี้ 1) การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย 2) การระบุเนื้อหาสาระ 3) การวางแผนการเรียนรู้ 4) การนำผลการเรียนรู้ไปทดลองใช้ 5) การประเมินผลโปรแกรม 2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อออนไลน์ จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ คลิปที่ 1 หลักสูตรในบริบทของการจัดการศึกษาที่ยึดผลลัพธ์เป็นหลัก (Outcome Base Learning: OBE) คลิปที่ 2 ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom’s Taxonomy และคลิปที่ 3 ความเชื่อมโยงของการจัดการเรียนรู้ (Constructive Alignment) พบว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน 3. ความพึงพอใจของผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบเพื่อการเสริมสร้างความสามารถของ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Bolye, P. (1981). Planning Better Program. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill College.
Calder, J., & McCollum, A. (1998). Open and Flexible Learning in Vocational Education and Training. London: Kogan Page.
Coleman-Brown, M. (1999). The Dynamics of Self-Directed Learning. Journal of Educational Research, 12(3), 45-58.
Hudgins, B. B. (1977). Learning and Thinking. (1st ed.). Illinois: F.E. Peacock Publishers.
Kittibuntoon, S. (2001). A Development of Non-formal Education Programme Based on Boyle's Concept at the Training School for Girl of Banpranee. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.
Knowles, M. (1975). Self-Directed Learning: A Guide for Learners and Teachers. (1st ed.). Chicago: Association Press.
Noppakhun, A. (2003). Conceptual Framework for Developing Participatory Programs in Non-Formal Education. (1st ed.). Bangkok: Chuanpim.
Office of the Higher Education Commission. (2014). Manual for Internal Educational Quality Assurance Higher Education. (3rd ed.). Bangkok: Parbpim.
Phothisuwan, C. (2009). Non-Formal Education: Learning and Teaching Adults. (1st ed.). Bangkok: Kasetsart University.
Podaphol, Ch. (2020). Online Learning Management: New Normal of Education. Retrieved June 10, 2023, from https://slc.mbu.ac.th/wp-content/uploads/
Quality Assurance Office Kasetsart University. (2015). Manual for Internal Educational Quality Assurance Course level Kasetsart University. (1st ed.). Bangkok: Saha Pracha Panich.
Rattanubon, A. (2008). Learning and Organizing Activities for Adults. (1st ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.
Suchiva, S., Na-Songkhla, J, & Panjamawat, T. (2018). Research to Develop Models and Methods for Developing External Evaluators Competencies. Journal of Research Methodology, 31(3), 257-279.
Thongwiset, W. (2002). The Effect Teaching and Learning Activities Emphasizing Critical Thinking Process for Science. (Master’s Thesis). Khon Kaen University. Khon Kaen.