การขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนบนฐานบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) : กรณีศึกษาวัดสวนแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
แนวทางการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนโดยอาศัย 3 สถาบันหลักของสังคมไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชน ประกอบด้วย บ้าน คือ สถาบันครอบครัวหรือบ้าน วัด คือ สถาบันศาสนาหมายรวมถึงศาสนสถานเป็นศูนย์กลางทางจิตใจในชุมชน โรงเรียน คือ สถานที่ที่ให้ความรู้อย่างมีแบบแผน รวมเรียกว่า “บวร” เพื่อเป็นหลักการที่นำมาปรับใช้ในการพัฒนาและแก้ปัญหาในระดับชุมชนและเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้สังคมไทย การขับเคลื่อนการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนผ่านกลไกหลัก "บวร" เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ความเชื่อมโยงของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDGs ทั้งหมด 17 เป้าหมายนั้นได้ครอบคลุมประเด็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงความเท่าเทียมกันของคนในสังคม ความยุติธรรม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสันติภาพ สะท้อนออกมาจากผลการดำเนินการผ่านกลไกของวัดสวนแก้วผลลัพธ์ในเชิงรูปธรรมใน 2 ประเด็นคือ ด้านการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ มีการจัดการตั้งแต่ การแบ่งคัดแยก ประเภท มีสถานที่รองรับ การซ่อมแซมและสร้างมูลค่าเพิ่ม มีการจัดการสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่บรรยากาศร่มรื่นเป็นพื้นที่สีเขียวเป็นที่ที่มีอากาศที่บริสุทธิ์ ด้านการส่งเสริมอาชีพและการศึกษาของวัดสวนแก้ว ได้ช่วยเหลือผู้ยากจนด้วยการมุ่งเน้นส่งเสริมด้านการศึกษาการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และการพัฒนาทักษะด้านวิชาชีพจนสามารถออกไปประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ ปัจจัยความสำเร็จของวัดสวนแก้ว “SMART SDGs MODEL” S ผู้มีส่วนได้เสีย คำนึงผู้มีส่วนได้เสีย M การบริหารจัดการ มีการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ ทัศนคติ มีทัศนคติที่ดีงาม ความรับผิดชอบ มีรับผิดชอบหน้าที่อย่างที่สุด อดทน อดกลั้น ใช้ขันติธรรมเป็นแนวปฏิบัติ โดยมีขั้นตอนดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นพัฒนาการเรียนรู้ของวัดและชุมชนด้วยศูนย์ปฏิบัติการทางสังคม ขั้นตอน ที่ 3 ขั้นพัฒนาจิตใจและปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Amnesty International Thailand. (2018). What Are Human Rights? Retrieved August 29, 2023, from https://www.amnesty.or.th/latest/blog/62/
Phramaha Manoj Suksa. (1996). Buddhism and Social Development: A Study of the Opinions of Sangha Leaders on Social Development by Phra Phayom Kalayano. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.
Srasom, N. (2017). The Participatory on “Ban Wat Rongrean Management” of Buddhist Monastic School under the Bangkok Metropolitan Administration. (Doctoral Dissertation). Silpakorn University. Bangkok.
Suan Kaew Foundation. (2023). History of Phra Phayom Kalayano. Retrieved August 30, 2023, from https://www.kanlayano.org/home/projects/index.php
Suan Kaew Foundation. (2023). Recounted 37 Years Ago by Phra Rajadhammanidhed (Phra Phayom Kalyano). Retrieved August 30, 2023, from https://www.kanlayano.org/ home/pdf/book/73yeaes_phra_phayom.pdf
We Build the Future. (N.D.). Driving the Economy towards Sustainable Development (BCG). Retrieved August 29, 2023, from https://www.tpipolene.co.th/th/investment/bcg-th
Yamsrikaew, K. (2015). Cooperation Management for Ban Wat Roangrean. (Doctoral Dissertation). Silpakorn University. Bangkok.