การยกระดับคุณภาพสินค้าผ้าย้อมจากสีธรรมชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การยกระดับคุณภาพสินค้าผ้าย้อมจากสีธรรมชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าผ้าย้อมจากสีธรรมชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน 2) พัฒนากลไกการตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าผ้าย้อมจากสีธรรมชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรม และ 3) ถ่ายทอดและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ผ้าย้อมจากสีธรรมชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปฏิบัติการ โดยศึกษาจากประชากร 3 หมู่บ้าน คือ 1) บ้านไม้สลี 2) บ้านแม่แสม และ 3) บ้านห้วยไร่สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเจาะจง โดยคัดเลือกจากประชากรบ้านไม้สลี จำนวน 72 คน บ้านแม่แสม จำนวน 70 คน และบ้านห้วยไร่ จำนวน 90 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 หมู่บ้าน จำนวนทั้งสิ้น 232 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ เก็บรวมรวบข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าผ้าย้อมจากสีธรรมชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรมเป็นการนำทุนวัฒนธรรมหรืออัตลักษณ์ที่เป็นสี ลวดลาย ของกลุ่มชาติพันธุ์มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบเสื้อผ้า นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาตินิยมนำลูกเดือยมาประดับเป็นลวดลายต่าง ๆ ที่แฝงด้วยความเชื่อของชุมชนตนเอง 2) การพัฒนากลไกการตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าผ้าย้อมจากสีธรรมชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย การผลิตที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค การสร้างความแตกต่าง การผลิตให้มีคุณภาพ และการวางแผนการผลิตอย่างเป็นระบบ และ 3) การถ่ายทอด และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ผ้าย้อมจากสีธรรมชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน โดยที่การถ่ายทอดนั้นเป็นการจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการย้อมสีธรรมชาติ และกลไกการตลาด ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ นิสิตวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน หน่วยงานภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่ ส่วนการสร้างเครือข่ายนั้นเป็นการทำสัญญาข้อตกลงความร่วมมือกับ 7 หน่วยงาน คือ 1) วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน 2) สถาบันวิจัยหริภุญชัย 3) องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนปม 4) โรงเรียนบ้านไม้ตะเคียน 5) สภาวัฒนธรรมตำบลตะเคียนปม 6) สภาวัฒนธรรมอำเภอทุ่งหัวช้าง และ 7) วิสาหกิจชุมชนในตำบลตะเคียนปม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Akkasaeng, D., & Kritsanaputi, W. (2009). Knowledge Management Process of Local Wisdom of Naturally Dyed Mudmee Silk. Khon Kaen University Research Journal, 9(4), 135-147.
Aphibunyopas, J., & Klamsaengsai, S. (2020). Business Promotion and Development of Trading Village: A Case Study of Nhong Bua Daeng Organically-Dyed Weaving Group Community Enterprise, Nhong Bua Daeng District, Chaiyaphum Province. Thai International Tourism Academic Journal, 16(2), 1-21.
Chumoon, M. (2010). The Development of Marketing Management for Cotton Products, Case Study: The Cotton Hand Weaving Groups at Don Muang Village Tambon Maerang, Amphur Pasang, Lamphun Province. (Research Report). Retrieved July 30, 2023, from https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/280871>
Industrial Promotion Center Region 1. (n.d.). Community Product Development Project with Cultural Capital and Wisdom to the International Area In 8 Provinces in the Upper Northern Region. (Unpublished Document). Bangkok: Department of Industrial Promotion, Ministry of Industry.
Khamthiya, C. (2023). The Head of Ban Mae Sam Naturally Dyed Cloth Group. Interview. October, 30.
Narongwit, P., & Saengchanthai, A. (2018). Design and Development of Bags for Women from Naturally Dyed Cotton, Cotton Weaving Groups with Natural Dyes, Silk Kaew Pattana Kamphaeng Phet Province. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal, 24(2), 59-96.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2024). National Economic and Social Development Plan No.13, (2023-2027). Retrieved July 30, 2023, from https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13>
Sisathan, P. (2009). Learning Process and Transfer of Weaving Wisdom of Pakakayo: A Case Study of Ban Mae Ra-Ar Nai, Village No. 9, Mae Tuen Sub-District, Omkoi District, Chiang Mai Province. (Master's Thesis). Thammasat University. Bangkok.
Wannatrong, S., & Tukphimai, S. (2017). Development of a Network of Hand-Woven Fabric Learning Resources in Surin Province, Udon Meechai Province and Champasak Sub-District. PULINET Journal, 4 (3), 93-104.