กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอัจฉริยะของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตภาคกลาง

Main Article Content

ชลชัย ศรีเชียง
พิชญาภา ยืนยาว
นภาภรณ์ ยอดสิน
ธีรวุธ ธาดาตันติโชค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาอัจฉริยะของโรงเรียนเอกชน 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอัจฉริยะของโรงเรียนเอกชน และ 3) ทดลองและประเมินการใช้กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอัจฉริยะของโรงเรียนเอกชน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตภาคกลาง จำนวน 127 แห่ง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษาแห่งละ 1 คน และครูผู้สอนแห่งละ 2 คน รวม จำนวน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบบันทึกผล สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาอัจฉริยะของโรงเรียนเอกชน
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตภาคกลางจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (equation = 4.13) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านเศรษฐกิจ มีสภาพปัจจุบันสูงที่สุด (equation = 4.18) และเมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบ พบว่า สถานศึกษาอัจฉริยะ มีสภาพปัจจุบันสูงที่สุด
(equation = 4.25) และจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (equation = 4.19) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านบุคลากร มีสภาพปัจจุบันสูงที่สุด (equation = 4.32) และเมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบ พบว่า ด้านผู้บริหารอัจฉริยะ มีสภาพปัจจุบันสูงที่สุด (equation = 4.32) 2) กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอัจฉริยะของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตภาคกลาง ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก 13 กลยุทธ์รอง และ 51 วิธีดำเนินการ และ 3) การทดลองและประเมินการใช้  กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอัจฉริยะของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตภาคกลาง มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้และนำไปใช้ได้จริง และผลการทดลองใช้กลยุทธ์มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกกลยุทธ์

Article Details

How to Cite
ศรีเชียง ช. ., ยืนยาว พ. ., ยอดสิน น. ., & ธาดาตันติโชค ธ. . (2024). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอัจฉริยะของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตภาคกลาง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(6), 2404–2417. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/275586
บท
บทความวิจัย

References

Kongtan, N., Unkong, T., Santi, B., & Gunma, N. (2021). The Compositions of Provincial Kindergarten School Administration by Innovation and Information Technology-Based Instruction. Academic Journal Uttaradit Rajabhat University, 16(1), 67-68.

Kositpimanvech, C., & Kositpimanvach, E. (2023). Private Educational Institutions in the Digital Age. Journal of Mani Chettha Ram Wat Chommani, 6(5), 586-593.

Mehta, A. C. (n.d.). Smart Schools in India: A Closer Look at Government, Government-Aided, and Other Schools. Retrieved December 1, 2023, from https://educationforallinindia.com/smart-schools-in-india-udiseplus-2021-22/

Ministry of Information and Communication Technology. (2016). Digital Development Plan for Economy and Society. Bangkok: Government Complex Commemorating His Majesty the King's 80th Birthday Anniversary (5 December 2007).

Pakotang, J. (2022). Leadership in the Digital Age for Professional School Administrators (Vol. 2). Sakon Nakhon: Somsak Publishing.

Phuwichit, C. (2023). Principal Strategy Be Ready for Changes. Retrieved January 15, 2024, from https://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20230317-1.pdf

Poothian, J. (2017). The Implementation of Information Technology for Education Standards Affecting Academic Administration of Schools under The Office of Samutprakan Primary Educational Service Area 1. (Master's Thesis). Rajabhat Rajanagarindra University. Songkha.

Saifah, Y. (2021). Trends in Elementary School Teacher Preparation of Thailand Responding to Needs of Employers and Changes in Digital Society. Journal of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus, 32(3), 71-85.

Sa-u, N. (2021). Learning Development in Digital Era: Framework toward SDGs. Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning, 11(2), 22.

Sukwong, T. (2021). A Study of Technological Leadership of School Administrator in the Digital Era under the Secondary Educational Service Area Office 29. Journal of Educational Administration and Leadership Sakhon Nakhon Rajabhat University, 9(34), 32-42.

Thongpeaw, T. (2023). Implementation of Information and Education Communication Technology Standards under the Rajaprajanugroh School Group the Office of Special Education Administration Group 8. (Master's Thesis). Hatyai University. Songkha.