มรรยาทการสื่อสารสาธารณะของทนายความตามหลักสัปปุริสธรรม

Main Article Content

ขวัญยุภา หุ่นงาม
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการสื่อสารสาธารณะสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ การพัฒนามารยาทในการสื่อสารสาธารณะที่ดี จึงเป็นทักษะที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ ที่ควรปฏิบัติทั้งในฐานะผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยมีวัตถุประสงค์ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์เชิงบวก หลีกเลี่ยงความเข้าใจผิด และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยสำหรับการสนทนา สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทนายความนั้น คำว่า “มรรยาท” ยังหมายถึง ระเบียบข้อบังคับ ว่าด้วยมรรยาททนายความที่ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความทุกคนพึงประพฤติปฏิบัติอีกด้วย บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อบูรณาการหลักธรรมทางพุทธศาสนา สัปปุริสธรรม 7 อันหมายถึงหลักธรรมของการเป็นคนดี ที่สอดรับกับการสื่อสารสาธารณะของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความนั้นสื่อสารสาธารณะได้อย่างเหมาะสมตลอดจนไม่ประพฤติผิดข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความในหมวด 4 และยังคงรักษาอัตลักษณ์ของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทนายความอันทรงเกียรติและรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรมของสังคมสืบต่อไป

Article Details

How to Cite
หุ่นงาม ข. ., & วัฒนะประดิษฐ์ ข. . (2024). มรรยาทการสื่อสารสาธารณะของทนายความตามหลักสัปปุริสธรรม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(4), 1649–1658. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/275577
บท
บทความวิชาการ

References

Bangkok Thurakit. (2023). Lawyers' Council Joins with the Media Council and the Journalist Association to Advise Not to Become a Tool for Attention-Seeking Lawyers. Retrieved January 15, 2024, from https://www.bangkokbiznews.com/news/1061859

Barelson, B., & Steiner, G. (1964). Human Behavior. New York: Harcourt, Brace & World.

Chopuek, A. (2023). The Role and Functions of Lawyers in the Justice Process. Retrieved January 16, 2024, from https://www.athiwatlawyer.com

Kasemsap, P. (2000). Civil Law: General Principles. Bangkok: Asia Kit Pack Print.

______. (2013). Legal Study Documents, Theoretical Introduction. Bangkok: Faculty of Law, Thammasat University.

Lawyers Act B.E. 2528. (1985). Royal Gazette. Retrieved January 16, 2024, from http://old-book.ru.ac.th/e-book/l/LW438/lw438-supplement-1.pdf

Lawyers Council Regulations Concerning Lawyers' Etiquette B.E. 2529. (1986). Royal Gazette. Retrieved January 16, 2024, from http://www.lerson.sc.chula.ac.th/bc/pdf/ethics/CU_ Lawyer_Ethics.pdf

Osgood, C. E. (1974). The Nature and Measurement of Meaning. New York: Harcourt Brace Jovanovich.

Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (2003). Buddhist Dictionary Dhamma Compilation. (12th ed.). Retrieved January 16, 2024, from https://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item. php?i=287

Ruesch, J., & Bateson, G. (1951). Communication: The Social Matrix of Psychiatry. (1st ed.). New York: W.W. Norton & Company.

Sukitjakarn, S. (2014). Commit a Crime Lawyer Etiquette. Academic Journal of Bangkok Thonburi University, 2(2), 44-51.

Thai PBS. (2023). Chuwit Petitions the Lawyers Council to Investigate the Conduct of Lawyer Sithra. Retrieved January 16, 2024, from https://www.thaipbs.or.th/news/content/326498

Weaver, W., & Shannon, C. (1949). The Mathematical Theory of Communication. USA: Bell Telephone Laboratories.