มังกร “ตำนาน ความเชื่อ เอกลักษณ์” ของจังหวัดราชบุรี

Main Article Content

จริญญาพร สวยนภานุสรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมา ตำนาน ความเชื่อ ของมังกรในจังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาพลวัตของมังกรที่เป็นเอกลักษณ์ในจังหวัดราชบุรี เป็นงานวิจัยคุณภาพ นำเสนอในรูปแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ โดยสังเคราะห์องค์ความรู้ และเอกสาร แนวคิด งานวิจัย ในบริบทของความเป็นมา ตำนาน ความเชื่อ เอกลักษณ์ ตลอดจนพลวัตในมิติต่างๆ ของมังกรในจังหวัดราชบุรี พื้นที่วิจัยจากการศึกษาภาคสนาม คืออำเภอเมืองราชบุรี โพธาราม และบ้านโป่ง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาและสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้นำชุมชนหรือประธานชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้รู้ ชาวบ้านหรือผู้ประกอบการรายย่อย และเจ้าหน้าที่ท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดราชบุรี เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ และการสอบถาม เพื่อนำมาวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูล และนำมาสังเคราะห์ เป็นองค์ความรู้ใหม่ของการศึกษา


จากการศึกษาพบว่า 1) ความเป็นมา ตำนาน ความเชื่อ ของมังกรในจังหวัดราชบุรี โดยชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานและยึดอาชีพการปั้นเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภูมิปัญญาติดตัวมา ตำนาน“โอ่งมังกรราชบุรี” จึงเชื่อมโยงกับความเชื่อของคนในชุมชนในวิถีชีวิตต่างๆ จนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าของจังหวัดราชบุรี 2) พลวัตของมังกรที่เป็นเอกลักษณ์ในจังหวัดราชบุรี เป็นทุนทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นทั้งผลิตภัณฑ์ งานศิลปะร่วมสมัย แลนด์มาร์ก เป็นต้น การสร้างสรรค์นี้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวในจังหวัด ดังนั้นการส่งเสริมพัฒนาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเปรียบจากรากเหง้าที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการพัฒนา ดัดแปลง ต่อยอด ในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเป็นการสืบทอด อนุรักษ์ เอกลักษณ์ของชุมชนจังหวัดราชบุรีให้ยังคงอยู่ และยังส่งผลต่อยอดองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญา สร้างพลังและความเข้มแข็งในชุมชนได้รัก เข้าใจ และภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Donjiwprai, J. (2016). The Project for Improving Tao Hong Tai Ceramics Factory. Bangkok: Faculty of Architecture, Sripatum University.

Khundiloknattawasa, S. (2018). Power of Faith and Belief on the Tradition of Pak Nam Pho Shrine: The Golden Dragon. Humanities and Social Sciences Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University, 12(1), 82-98.

Kleebthong, M. (2001). The National Museum Ratchaburi and Ratchaburi Province. Bangkok: Samaphan.

Munsap, P. (2021). Creative Folklore Related to the Naga Belief in the Upper Northeastern Region of Thailand. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.

Na Thalang, S. (2016). “Creative Folklore”: Synthesis and Theory. Bangkok: Kled Thai.

Plynoi, S. (2013). Dragon tales: Myths of Many Nations. (6th ed.). Bangkok: Pimkham.

Ratchaburi Provincial Office. (2013). General Information of Ratchaburi Province. Ratchaburi: Ratchaburi Provincial Office.

Thairath. (2022). Celebrating Chinese New Year in the Year of the Tiger: Worship for Power in Ratchaburi, the City of Dragons, Invites You to Check-in at the Replica Great Wall of China. Retrieved January 31, 2024, from https://www.thairath.co.th/news/local/central

Yisakorn, K. (2018). Study and Analysis of Vietnamese Dragon Beliefs. Retrieved January 9, 2024, from http://isas.arts.su.ac.th/?p=3341

Yodboon, W. (2019). Local Culture in Tourism Industry: Dynamism and Modification of the Wax Castle Festival in Globalization Era. J. of Soc Sci & Hum, 45(2), 269-301.