การวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมบุคลากรด้านอนิเมชันโดยการบูรณาการภาคอุตสาหกรรมและการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการของบุคลากรในการส่งเสริมด้านแอนิเมชัน 2) พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรด้านแอนิเมชัน 3) ทดลองใช้หลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรด้านแอนิเมชัน และ 4) ประเมินผลการใช้หลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรด้านแอนิเมชันโดยการบูรณาการภาคอุตสาหกรรมและการศึกษากระบวนการวิจัยมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารวิสาหกิจแอนิเมชัน จำนวน 60 คน อาจารย์ จำนวน 59 คน นักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาแอนิเมชันที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 189 คน และบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสาขาแอนิเมชัน จำนวน 60 คน รวม 368 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาหลักสูตรแอนิเมชัน จำนวน 10 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากร โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนแอนิเมชัน จำนวน 10 คน ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากร โดย อาจารย์ 1 คน และนักศึกษา จำนวน 30 คน ระยะที่ 4 การประเมินการใช้หลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากร โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน และนักศึกษา จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบประเมินชิ้นงาน และวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นการส่งเสริมบุคลากรด้านแอนิเมชันโดยบูรณาการภาคอุตสาหกรรมและการศึกษา เรียงจากค่า PNI จากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ สถานศึกษาต้องเน้นหลักสูตรภาคปฏิบัติมากกว่าภาคทฤษฎี สถานศึกษาต้องพัฒนาความรู้และทักษะด้านการจัดการเรียนการสอนแอนิเมชันมากขึ้น และต้องมีรายวิชาที่สามารถบูรณาการภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษาได้ 2. การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม มีทั้งหมด 4 โมดูล คือ การออกแบบตัวละครแอนิเมชัน การออกแบบภาษากล้องของแอนิเมชัน การออกแบบแอนิเมชัน 3 มิติ และการสังเคราะห์แอนิเมชันหลังการถ่ายทำ ผลประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม และความสอดคล้อง โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรการฝึกอบรม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.21/85.81 ค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกสูงกว่าการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการใช้หลักสูตรการฝึกอบรม โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการฝึกอบรม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.98)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chang, L. (2021). Research on Color Composition Teaching Innovation in Colleges and Universities from the Perspective of Applied Talent Training. Journal of Qiqihar Teachers college, 12(1), 114-127.
Feng, X. et al. (2021). Talent Training System for Safety Engineering under Background of Professional Certification. Chinese Journal of Safety Science, 31(5), 45-51.
Hai, H. (2021). Research on the Development of Characteristic Cultural Industries from the Perspective of Innovation Clusters. Media, 2(4), 16-29.
Li, W. (2020). A Survey on the Current Competence of Undergraduate Internship Nursing Students and Analysis of Influencing Factors. Health Vocational Education, 42(5), 133-136.
Li, Z. (2022). Research on the Reform of the Curriculum Outline Design of Assembly Language and Microcomputer Technology Based on the Goal Orientation of Ideological and Political Education. China Science and Technology Economic News Database Education, 2(4), 3-4.
Ming, Y. (2021). Research and Exploration on Practical Teaching of Information Majors Based on the Integration of Industry and Education. Modern Education Forum, 4(5), 43-55.
Ning, L. (2020). Teaching Design and Practice of Ideological and Political Education from the Perspective of Art Majors-Taking the Course Research on Traditional Chinese Mural Painting as an Example. Education Research, 4(7), 92-103.
The Central People’s Government of China. (2010). National Medium and Long-Term Education Reform and Development Plan Outline of the State Council of China (2010-2020). Retrieved May 3, 2023, from https://www.gov.cn/jrzg/201007/29/content_ 1667143.htm
The Ministry of Education of China. (2013). Opinions on Deepening Comprehensive Reform in the Education Sector. Retrieved June 3, 2023, from http://www.moe.gov.cn/srcsite/A27/zhggs_other/201301/t20130129_148072.html
The State Council of China. (2017). Several Opinions on Deepening the Integration of Industry and Education. Retrieved May 2, 2023, from https://www.gov.cn/zhengce/content/2017-12/19/content_5248564.htm
Xiaoting, W. (2018). On the Five Elements of Curriculum Design in Higher Vocational Education-Taking the Course of Warehouse Management as an Example. China Vocational and Technical Education, 5(8), 10-23.
Yu, Z., & Ting, L. (2022). Innovative Analysis of the Talent Training Model for Higher Vocational Animation Design Majors from the Perspective of Integration of Industry and Education. Journal of Beijing Printing University, 29(S2), 215-227.
Yan, Z., & Xiaoyan, W. (2018). Research on Vertical Specialization and Value Appreciation Capability of China's Animation Industry from the Perspective of Value Chain. Statistics and Information Forum, 33(11), 4-18.