การเปลี่ยนผ่านช่วงเวลาของเมืองเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบททางวัฒนธรรมของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเชียงใหม่ผ่านลักษณะรูปแบบการใช้สอยที่เปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา 2) สร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยโดยการสังเคราะห์องค์ความรู้สู่การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์รูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิมเป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ โดยมีการสืบค้นข้อมูลประวัติความเป็นมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน (พ.ศ. 2510-2565) ผ่านการศึกษาภาคเอกสารการลงพื้นที่เพื่อสำรวจทางกายภาพและการสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้างโดยมีพื้นที่ทำการวิจัยคือ อำเภอเมือง โดยนำข้อมูลมาสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยผ่านโครงสร้างอารคารสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
พบว่า 1. บริบทการเปลี่ยนแปลงทางรูปแบบและสภาพแวดล้อมของโครงสร้างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเชียงใหม่ซึ่งผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลเพื่อเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของเมืองที่ค่อย ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยการมองผ่านโครงสร้างในอดีตมาสู่ปัจจุบันการเรียนรู้และปรับตัวเข้าสู่วัฒนธรรมในปัจจุบันได้อย่างมีความเข้าใจในพื้นฐานของวัฒนธรรมที่หลากหลายของเมือง การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบของสังคมและวัฒนธรรมในปัจจุบันที่ส่งผลต่อไปยังอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นในภายหน้าอย่างมีความเข้าใจ 2. การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยในชุด “ช่วงเวลา” มีขั้นตอนและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกันกับรูปทรงของสถาปัตยกรรมเก่าโดยคัดสรรค์มุมมองเพื่อตรงตามความต้องการในด้านองค์ประกอบที่เหมาะสมเพื่อที่จะสะท้อนแนวความคิดผ่านศิลปะภาพพิมพ์ออกมาให้ส่งผลต่อความรู้สึก และนำผลงานภาพพิมพ์มาสร้างองค์ประกอบขึ้นใหม่ในสื่อดิจิตอลและภาพเคลื่อนไหว (Media Art) กราฟฟิตี้ (Graffiti) ให้เกิดความน่าสนใจมากขึ้นในการเผยแพร่ต่อประชาชนทั่วไปเพื่อที่จะได้เข้าถึงสาระของงานที่จะนำเสนอจนไปถึงการตระหนักต่อคุณค่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เปลี่ยนบริบทและความเข้าใจต่อวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chansuebsri, S. (2016). Lecture Documents on Vernacular Thai Architect. Retrieved September 29, 2022, from https://issuu.com/suebpongchans/docs/vernarchbook58#google_vignette
Khrueraya, Th. et al. (2015). Local Lanna Vernacular Houses. (Research Report). Bangkok: Nanthakar Graphic Printing.
Liawrungruang, W. (2000). Chiang Mai Architecture. Chiang Mai: Chiang Mai University.
Noenhaad, A. (2019). Old House in the City. Chiang Mai: Wanida Printing.
______. (2020). Slap Old Story. Chiang Mai: Wanida Printing.
Ongsakul, S. (2003). Community History in Chiang Mai. (Research Report). Chiang Mai: Chiang Mai University.
Thaveeprungsriporn, P. D. (2014). Kum Khan Kid. Bangkok: Lailson Publishing.
The Fine Arts Department. (1977). Northern Architecture Type of Residence. Bangkok: The Fine Arts Department.
Valliphodom, S. (2000). Thai House. Bangkok: Muang Boran Press.
Washinsuntorn, J. N. (2013). Semiology and Signification, Theoretical Enhancement Presentation Resources for Communication Arts, Faculty of Management Science. Chiang Mai: Rajabhat Chiang Mai University.