รูปแบบการบริหารนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร

Main Article Content

วิเชียร นันต๊ะ
จิติมา วรรณศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร โดยศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการศึกษาสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 โรงเรียน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องที่ใช้ คือ แบบบันทึกข้อมูล และแบบสัมภาษณ์ ตามลำดับ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ แหล่งข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบตรวจสอบความเหมาะสมของร่างรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 60 คน และครูหัวหน้ากลุ่มงานบริหารวิชาการ จำนวน 60 คน รวมจำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน        ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 3.1) ผู้บริหารสถานศึกษา 3.2) ครูผู้สอน 3.3) วัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 3.4) แหล่งเรียนรู้สื่อ และเทคโนโลยี องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4.1) การวิเคราะห์สภาพปัญหา 4.2) การออกแบบและสร้างนวัตกรรม 4.3) การทดลองใช้นวัตกรรม 4.4) การประเมินผลการใช้นวัตกรรม 4.5) การสะท้อนผลและการเผยแพร่ องค์ประกอบที่ 5 คุณภาพผู้เรียน และองค์ประกอบที่ 6 ปัจจัยความสำเร็จ ซึ่งรูปแบบการบริหารที่พัฒนาขึ้นนี้ มีความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
นันต๊ะ ว. ., & วรรณศรี จ. . (2024). รูปแบบการบริหารนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(6), 2236–2249. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/274916
บท
บทความวิจัย

References

Aiyara, A., & Wannasrm, J. (2021). A Management Model to Innovative School under the Office of the Secondary Educational Service Area. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.

Aungkananuwat, P. (2020). Factors Affecting Employee’s Innovation Behavior in Tisco Financial Group Public Company Limited. (Master’s Thesis). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Chansila, W. (2018). Management of Schools in Remote Highland Areas. Phitsanulok: Rattanasuwan Printing 3.

Independent Commission for Education Reform (2020). Education Reform Plan. Retrieved November 7, 2023, from http://nscr.nesdc.go.th/

Junkrapor, M., & Chienwattanasook, K. (2019). Establishing an Innovative Organization to Drive towards the Organizational Excellence. Executive Journal, 39(1), 52-66.

Khammanee, T. (2020). Proactive Learning Management Based on Proactive Competencies. Bangkok: Office of the Education Council.

Mang-ana, S., & Junsira, V. (2015). Leadership of Basic Education School Administrators in Remote Highland Areas. (Doctoral Dissertation). Naresuan University: Phitsanulok.

Morakul, R. (2017). A Factor Analysis of Innovative Organization of School in the Basic Education. Nakhon Pathom: Nakhon Pathom Rajabhat University.

Office of the Basic Education Commission. (2021). Manual for Screening Criteria for Schools Located in Special Areas (School in High Mountain Areas in the Wilderness). Bangkok: Office of Basic Education Policy and Planning.

Office of the Education Council. (2019). Proactive Competency-Based Learning Management. Nonthaburi: 21st Century.

Sombunsin, N. (2021). A Management Model of Administrative Innovation in School. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.

Susarat, P. (2010). Development of Thinking. Bangkok: 9119 Printing techniques.

Tangkunanan, P. (2020). Academic Administration in School for Sustainable Development. (2nd ed.). Bangkok: Min Service Partnership Limited.

Wannasri, J. (2018). How to Create Organizational Innovation: The Role of Leaders. Phitsanulok: Rattanasuwan Printing 3.

______. (2020). Innovation for Educational Institution Development. (3rd ed.). Phitsanulok: Rattanasuwan Printing 3.

______. (2023). Management towards Quality of Students and Educational Institutions. Phitsanulok: Rattanasuwan Printing 3.