เอกสารคัมภีร์ใบลาน : กลวิธีการเปลี่ยนแปลงทางภาษาในบทสู่ขวัญ สำนวนท้องถิ่นอีสาน

Main Article Content

ชาญยุทธ สอนจันทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเปลี่ยนแปลงทางภาษาในบทสู่ขวัญสำนวนท้องถิ่นอีสานจากเอกสารใบลาน ใช้กรอบแนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษามาเป็นแนวทางในการศึกษา โดยดำเนินการวิจัยเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง คือ ตัวบทเอกสารใบลานบทสู่ขวัญสำนวนท้องถิ่นอีสาน จำนวน 15 สำนวน มาเป็นข้อมูลในการศึกษาวิเคราะห์แบบพรรณนาวิเคราะห์


ผลการการวิจัยพบว่า ตัวอักษรธรรมอีสานที่ปรากฏในเอกสารใบลานบทสู่ขวัญสำนวนท้องถิ่นอีสานนั้น เมื่อมีปริวรรตถ่ายถอดเป็นอักษรภาษาไทยปัจจุบัน มีกลวิธีการเปลี่ยนแปลงรูปพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ กล่าวคือ 1. รูปพยัญชนะ มีการเปลี่ยนแปลงทั้งพยัญชนะต้นเดี่ยว พยัญชนะควบกล้ำ และพยัญชนะสะกด รูปพยัญชนะต้นเดี่ยว มีการเปลี่ยนแปลง จำนวน 13 รูป ได้แก่ ข ค จ ช ส ถ ท พ ภ ผ ย อย ล รูปพยัญชนะควบกล้ำ ในอักษรธรรมอีสาน มีการใช้อยู่ 2 รูป คือ พยัญชนะควบกล้ำ ร และ ว รูปพยัญชนะสะกด มีการเปลี่ยนแปลงรูปในมาตราตัวสะกดแม่ กก แม่ กด แม่กบ และแม่ กน 2. รูปสระ มีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ จำนวน 10 รูป ได้แก่ สระ อะ อิ อี อุ โอะ อือ แอ อัว ออ และ เออ 3. รูปวรรณยุกต์ ในอักษรธรรมอีสานไม่มีรูปวรรณยุกต์ การออกเสียงวรรณยุกต์จะพิจารณาจากบริบทแวดล้อมของคำนั้น ๆ

Article Details

How to Cite
สอนจันทร์ ช. . (2024). เอกสารคัมภีร์ใบลาน : กลวิธีการเปลี่ยนแปลงทางภาษาในบทสู่ขวัญ สำนวนท้องถิ่นอีสาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(6), 2336–2351. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/274846
บท
บทความวิจัย

References

Ampala, P. (2022). A Semantics Change of [Kin] from the Concept of ‘Eating Is Life’ in Thai Language. Payap University Journal, 32(1), 19-35.

Buathum, S. (2015). Soo Kwan Chants between Laos and Isan: Literary Structures and Functions. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.

Chamniroksan, D. (1983). Historical Linguistics and Comparative Tai Languages. Bangkok: Project to Publish Academic Works of Faculty Members of the Thai Language Department.

Kanittannan, W. (1983). Historical Linguistics: Evolution of the Thai and English Languages. Bangkok: Thammasat University Press.

Kemkan, W., & Chaimano, K. (2020). The Analysis of Changes in the Ancient Vocabularies from the Royal Institute Dictionary from Year 1950 to Year 2011 (B.E. 2493 to B.E. 2554). Academic MCU Buriram Journal, 5(1), 163-176.

Moolma, C. (2011). Conserving, Perpetuating and Developing the Tradition of Bai Si Sut Khwan for Enhancing the Strength of Isan Community. (Doctoral Dissertation). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Phippayamat, P. (2008). The Art in Composing Soul-Calling Verses of Mo Sut Chamnian Panthawee. (Master’s Thesis). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Punnotok, T. (2010). Evolution of the Thai Language and Thai Letters. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Punnotok, T. (2010). Thai Dialects. (7th ed.). Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.

Thanwarachon, R. (2005). Evolution of the Thai Language. Bangkok: Thammasat University Press.

Thongruang, B. (1993). Soul-Calling Verses in Isan Literature. (Master’s Thesis). Srinakharinwirot University. Mahasarakham.