รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

Main Article Content

ลาวัลย์ นนทะสี
ชยากานต์ เรืองสุวรรณ
วิมลมาศ ปฐมวณิชกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน 3) สร้างรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน 4) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน แบ่งเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดมี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 ยืนยันองค์ประกอบและตัวชี้วัดโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบประเมิน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง 319 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.98 ระยะที่ 3 สร้างรูปแบบมี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ร่างรูปแบบ โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 2 ประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบประเมิน ระยะที่ 4 ทดลองใช้รูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ แบบประเมินการใช้รูปแบบ แบบประเมินคู่มือการใช้รูปแบบ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และค่า t-test


 ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน มี 5 องค์ประกอบ 35 ตัวชี้วัด มีความเหมาะสมโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (equation = 4.93, S.D. = 0.07) 2) สภาพปัจจุบันโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (equation = 3.29, S.D. = 0.71) สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (equation = 4.65, S.D. = 0.35) ค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified) อยู่ระหว่าง 0.34 - 0.51 3) รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน KATAD มี 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (K) 2) ด้านการได้มาของภูมิปัญญาท้องถิ่น (A) 3) ด้านการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น (T) 4) ด้านการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ (A) 5) ด้านการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น (D) องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน มี 6 ส่วน ประกอบด้วย (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) วิธีการดำเนินงานมี 5 กิจกรรม ประกอบด้วย (1)กิจกรรมสำรวจภูมิปัญญา (2) กิจกรรมค้นหาสิ่งเก่า (3) กิจกรรมบอกเล่าของดี (4) กิจกรรมบ่งชี้ปฏิบัติ (5) กิจกรรมพัฒนาต่อยอด มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (equation = 4.60, S.D. = 0.40) 4) ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า หลังการใช้รูปแบบฯมีการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน สูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบ และความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
นนทะสี ล. ., เรืองสุวรรณ ช. ., & ปฐมวณิชกุล ว. . (2024). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(5), 1728–1739. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/273491
บท
บทความวิจัย

References

Charoenphon, A. (2007). Knowledge Management from Learning Sources of Educational Institutions. (Doctoral Dissertation). Silpakorn University. Bangkok.

Davenport, T. H., & Prusak, L. (1998). Working Knowledge. Massachusetts: Press Boston.

Hakaew, S. (2015). Development of a Community Participation Management Model in Educational Management in Educational Institutions under the Office of the Basic Education Commission. Journal of Community Development Research, 8(1), 32-46.

Kanokporn, C. (2012). Knowledge Management Model of Local Wisdom in Basketry Handicraft: A Case Study of a Community Enterprise Nakhon Ratchasima Province. (Doctoral Dissertation). National Institute of Development Administration. Bangkok.

Laowreandee, W. (2007). Techniques and Tactics for Developing Thinking Skills in Learner-Centered Learning Management Important. Nakhon Pathom: Faculty of Education Silpakorn University.

Maha Sarakham Primary Educational Service Area Office 2. (2021). Action Plan. Maha Sarakham: Policy and Planning Department.

Ministry of Education. (2010). National Education Act 1999, Amended (No.3) 2010. Bangkok: Phrik Wan Graphic.

Ministry of Education. (2012). Thai Wisdom in Education Management. Retrieved November 13, 2023, from https://www.moe.go.th/ภูมิปัญญาไทยในการจัดกา/

Office of the National Economic and Social Development Broad. (2017). National Strategy (2018-2037). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Broad.

Panich, W. (2008). Knowledge Management. (4th ed.). Bangkok: Tathata Publication Company Limited.

Puangrat, T. (2000). Research Methods in Behavioral and Social Sciences. (7th ed.). Bangkok: Bureau of Educational and Psychological Testing Srinakharinwirot University.

Wasi, P. (1993). The Study of the Nation and Local Wisdom: Folk Landscape and Rural Development. (1st ed.). Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

______. (2007). Knowledge Management: The Process of Releasing Humans to their Potential, Freedom and Happiness. (2nd ed.). Bangkok: Institute for the Promotion of Knowledge Management for Society (KST).