การพัฒนาชุดกิจกรรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน

Main Article Content

สิริลักษณ์ คุณุ
จุฬารัตน์ วัฒนะ
ภัทรา วยาจุต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมฯ ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนาชุดกิจกรรมฯ ระยะที่ 2 ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน อายุระหว่าง 60 – 69 ปี อยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านแบบสะท้อนตนเอง แบบสะท้อนความรู้สึก และแบบประเมินทักษะ สถิติวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอุปนัย


ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาชุดกิจกรรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ได้พัฒนาโดยบูรณาการทฤษฎี Empowerment และ Andragogy ประกอบด้วยแผนการเรียนรู้ 4 แผน ได้แก่ (1) รู้เขา เข้าใจตนเอง (2) ทางเลือกสร้างสุข : พับพวงมาลัยผ้าขาวม้า (3) แบ่งปัน เพิ่มพูนพลังใจ (4) เปิดใจ สะท้อนมุมมอง 2. ผลการใช้ชุดกิจกรรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านพบว่า ก่อนการเข้าร่วมชุดกิจกรรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน กลุ่มตัวอย่างมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ ด้านที่ต่ำที่สุด คือ ด้านที่ 2 การประสบความสำเร็จและส่งผลให้เห็นคุณค่าในตนเอง หลังการเข้าร่วมชุดกิจกรรมฯ ทุกคนมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยของผลต่างคะแนนรวมด้านที่มีผลต่างมากที่สุด คือ ด้านที่ 2 การประสบความสำเร็จและส่งผลให้เห็นคุณค่าในตนเอง มีผลต่างของค่าเฉลี่ย 12.93 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้สะท้อนความรู้สึกว่า การทำงานฝีมือได้สำเร็จ ทำให้เกิดความมั่นใจและภาคภูมิใจในตนเอง แล้วยังได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สูงอายุในชุมชน  

Article Details

How to Cite
คุณุ ส. ., วัฒนะ จ. ., & วยาจุต ภ. . (2024). การพัฒนาชุดกิจกรรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(5), 1765–1779. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/273323
บท
บทความวิจัย

References

Conger, J. A. & Kanungo, R. N. (2016). The Empowerment Process: Integrating Theory and Practice. The Academy of Management Review, 13(3), 471-482.

Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. (2021). Director General of the Department of Health Service Support Pointing out that There Are Elderly People Living There Now. Over 800,000 People Alone, There Are Another 1.3 Million People Stuck at Home, Bed-Ridden, the Trend Is Increasing. Retrieved April 6, 2021, from https://hss.moph.go.th/show_topic.php?id=337

Freire, P. (1970). Pedagogy of the Oppressed. (30th Anniversary ed.). New York: Continuum.

Gebregergis, W. T., Mehari, D. T., Gebretinsae, D. Y., & Tesfamariam, A. H. (2020). The Predicting Effects of Self-Efficacy, Self-Esteem and Prior Travel Experience on Sociocultural Adaptation among International Students. Journal of International Students. 10(2), 339-357.

Knowles, M. S. (1978). The Adult Learner: A Neglected Species. (2nd ed.). Houston, TX: Gulf Publishing Company.

Lashley, C. (1997). Empowering Service Excellence. (1st ed.). Beyond the Quick Fix. London: Cassell.

Phromphak, Ch. (2013). Academic Office, Aging Society in Thailand. Office of Academic, the Secretariat of the Senate, 3(16), 1-23.

Siegall, M., & Gardner, S. (2000). Contextual Factor of Psychological Empowerment. Personnel Reviews, 29(6), 703-723.