อนาคตภาพของระบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ในทศวรรษหน้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารในการพัฒนากรอบแนวคิดอนาคตภาพของระบบสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในทศวรรษหน้า 2) เพื่อสร้างอนาคตภาพของระบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพผู้สูงอายุในทศวรรษหน้า เป็นการวิจัยอนาคตด้วยเทคนิค วิธีการวิจัยแบบชาติพันธุ์วรรณนาแบบเดลไฟล์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุและด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพจำนวน 20 คน คือ แพทย์ จำนวน 3 คน พยาบาล จำนวน 7 คน อาจารย์พยาบาล จำนวน 4 คน ด้านการวิจัยด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพ จำนวน 3 คน นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 1 คน ด้านหลักประกันสุขภาพ จำนวน 1 คน และด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จำนวน 1คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไทล์
ผลการศึกษาพบว่า 1) กรอบแนวคิดอนาคตภาพของระบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพผู้สูงอายุในทศวรรษหน้า ประกอบด้วย ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้นและมีระดับความรอบรู้สุขภาพต่ำ รัฐบาลมีแผนขับเคลื่อนแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ แนวความคิดพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เหมาะสมร่วมกับการส่งเสริมสุขภาพ คือแนวคิดของซอเรนเซนและคณะ เตรียมการจัดการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวรับมือกับผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงที่มากขึ้น รัฐบาลวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดการปัญหาสุขภาพของตนเองและสังคม และมีระบบบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐาน 2) การสร้างอนาคตภาพของระบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพผู้สูงอายุมีดังนี้ (1) แนวทางการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพประกอบด้วยการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดูแลสุขภาพ การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นช่วงวัย แบ่งออกเป็น ปฐมวัย วัยเรียน วัยรุ่น และ วัยทำงาน การรวมกลุ่มทางสังคมของผู้สูงอายุ คำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์ นโยบายการขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ (2) ระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ระบบการจัดการสุขภาพชุมชน ระบบบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ระบบบริการสุขภาพที่เข้าถึงผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ (3) การพัฒนาสื่อด้านสุขภาพประกอบด้วย ช่องทางสื่อสารที่หลากหลาย สื่อสำหรับกลุ่มเปราะบาง การจัดการสื่อโฆษณา การเผยแพร่ข้อมูล การผลิตสื่อที่ได้มาตรฐานและถูกต้อง (4) ความร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพและเครือข่ายสุขภาพ ประกอบด้วย ระบบเครือข่ายความร่วมมือ ความร่วมมือของสหวิชาชีพ ความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ และ (5) การสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพประกอบด้วย พัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ งบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุ การสนับสนุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Aunprom-me, S., Aunprom-me, S., Phoonnok, B., & Thitithananan, T. (2022). Health Literacy Levels among Elderly in Health Region 9: A Study with the European Health Literacy Survey (HLS-EU) Questionnaire. Thai Journal of Health Education, 45 (11), 162-177.
Bangkokbiznews. (2021). Thai People Suffer from High Rates of Cerebrovascular Disease. Nearly 50,000 Died. Retrieved August 20, 2021, from https://www.bangkokbiznews.com/social/926745
Berkman, N. (2011). Low Health Literacy and Health Outcomes: An Updated Systematic Review. Annals of Internal Medicine, 155(2), 297-106.
Charoenlak, N., Nilkote, R., & Lundam, C. (2023). Research and Development of a Volunteer Network in the Community to Promote Health in the Vulnerable. Journal of MCU Peace Studies, 11(3), 848-861.
Chesser, A. K., Woods, Smothers, K., & Rogers, N. (2016). Health Literacy and Older Adults: A Systematic Review. Gerontology & Geriatric Medicine, 2, 1-13.
Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2019). Report on the Situation of NCDs, Diabetes, High Blood Pressure and Related Risk Factors 2019. Bangkok: Graphic and Design Publishing House.
Department of Older Persons. (2002). National Elderly Plan No. 2 (2002-2021). Bangkok: Theppenwaniswanis Printing House.
Department of Older Persons. (2018). Report on the Social Situation and Human Security 2018, Quarter 3 (July-September). Retrieved August 20, 2021, from https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/download/article/article_20181017103929.pdf
Department of Older Persons. (2019). Top Up Knowledge and Prepare before Old Age. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited.
Department of Older Persons. (2023). Action Plan for the Elderly, Phase 3 (2023-2037). Retrieved August 20, 2021, from https://www.dop.go.th/download/laws/th1653553501-843_0.pdf
Devalersakul, N., Siriwarakoon, W., & Roadyim, C. (2016). The Development of the Elderly as a Burden to Power: Case Study of Rangsit City Municipality. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 529-545.
Kaeodumkoeng, K., & Thummakul, D. (2015). Health Literacy Promoting in Aging Population. Journal of Health Science Research, 9(2), 1-8.
Kitjao, et al. (2015). The Suitable Welfare for the Elderly in Different Ages Researched the Technical Promotion and Support Offices 1-12 Year 2015. Songkhla: IQ Media.
Miankerd, W. (2019). Participatory Action Research for Developing Mechanism of Case Management for Elderly Care in Bang Si Thong Sub-District, Nonthaburi Province. Interdisciplinary Journal Thammasat University Interdisciplinary College, 15(2), 134-174.
Peterson, P. N. et al. (2009). Health Literacy and Outcomes among Patients with Heart Failure. JAMA, 305(16), 1695-1701.
Phunphatracheewin, J. (2003). Future Research Operations EDFR (Ethnographic Delphi Future Research). Journal of Education Studies, 22(1), 1-19.
Prongjit, T., Sittisuea, P., Boonplod, P., & Kakkeaw, V. (2022). The Scenarios of the Administration of the Elderly Outpatient Service System at Community Hospital Sisaket Province in During the Next Decade (B.E. 2574). Journal of Humanities and Social Sciences Surin Rajabhat University, (24)1, 23-38.
Sa-ringkan, O. et al. (2021). Cost per Admission Day of Intermediate Care among Patients Diagnosed with Cerebrovascular Diseases in a Tertiary Hospital. Journal of Health Systems Research, 15(4), 407-421.
Sørensene, K. et al. (2012). Health Literacy and Public Health: A Systematic Review and Integration of Definitions and Models. BMC Public Health, 12(80), 1471-2458.
Srisa-at, B. (2013). Basic Research New and Improved Edition. (9th ed.). Bangkok: Suviriyasan.
Strategy and Planning Division. (2022). Government Action Plan 5 Years Period (2023-2027) of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health.
Sudnongbua, S. (2021). Caring for the Elderly: Situation and Quality of Life. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Thai Elderly Research and Development Institute Foundation. (2017). Situation of the Thai Elderly 2017. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited.
Tirakitpanitchakorn, N. (2016). The Role of the Media in Moving towards an Aging Society in Thailand Like a Smart Citizen. Graduate Journal Rajabhat University Walaialongkorn under the Royal Patronage, (10)2, 1-7.