การบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยหลักธรรม “อริยวัฒน์ 5” อย่างมีประสิทธิภาพ

Main Article Content

พระครูโสภณวีรบัณฑิต
พระพิษณุพล สุวณฺณรูโป (รูปทอง)

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มุ่งให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยการนำหลักธรรมอริยวัฒน์ 5 มาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการบริหารองค์กรจะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยผู้ยึดถือหลักอริยวัฒน์ 5 เป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากรมนุษย์ อันประกอบด้วย 1) ศรัทธา คือ ความเชื่ออย่างมีเหตุผล ความมั่นใจในความจริง เป็นปัจจัยนำไปสู่การมีสมาธิและปัญญา 2) ศีล คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น จิตใจมั่นคง 3) สุตะ คือ การได้เรียนรู้ ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตสูงขึ้น 4) จาคะ คือ การเสียสละแบ่งปันเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น 5) ปัญญา คือ มีความรู้เหตุรู้ผลอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง การเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารทรัพยากร โดยการสร้างพลังอำนาจให้กับผู้ปฏิบัติงาน พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในด้านองค์ความรู้ การมีทักษะและความสามารถ รวมถึงคุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจ ด้วยกระบวนการ 1) การออกแบบงานและการวิเคราะห์งาน 2) การวางแผนกำลังคน 3) การสรรหาและคัดเลือก 4) การปฐมนิเทศและการประเมินผลการปฏิบัติงาน 5) การอบรมและการพัฒนาขั้นตอน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการสร้างการเรียนรู้ในองค์กร มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร ก่อให้เกิดคุณภาพของงาน เสริมทักษะ ความรู้ความสามารถปฏิบัติงานได้มีการบริหารเวลาให้เหมาะสมกับปริมาณงาน และยกระดับความสามารถ และสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ทำให้องค์กรบรรลุผลมีคุณภาพของงานได้มาตรฐานตามเป้าหมาย มีความเหมาะสมกับปริมาณงานและระยะเวลา และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นต้องใช้หลักการบริหารจัดการสมัยใหม่ผสมผสานเข้าด้วยกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดการพัฒนา ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยิ่ง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Dessler, G. (2009). A Framework for Human Resource Management. (5th ed.). New Jersey: Pearson Education.

George, J. M. (2019). State or trait: Effects of Positive Mood on Prosocial Behaviors at Work. Journal of Applied Psychology, 76(2), 299-307.

Khiewngamdee, W. (2012). The Enhancement of Efficient Human Resource Management in the Public Sector Using Core Competencies Concept. Silpakorn University Journal, (Social Sciences, Humanities, and Arts), 32(1), 8-10.

Mondy, R. M. et al. (1999). Premeaux Human Resource Management. (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Schuster.

Peterson, E., & Plowman, E.G. (1989). Business Organization and Management. Homewood, Ilinois: Richard D. Irwin.

Phakru Sutahphattaradham et al. (2020). Ariyā Vaḍḍhi 5 as the Desirable Characteristics of Youth. Journal of Modern Learning Development, 5(2), 263-265.

Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (1997). Measurement of Buddhist Prosperity (Ariyā Vaḍḍhi). (7th ed.). Bangkok: Sahathammik Company Limited.

Prasopmoh, P. (2021). Factors Affecting Performance Efficiency of Employee of the Department of Rural Roads 2 (Saraburi). Tree-Science Journal, 7(1), 210-211.

Siripap, P. et al. (2021). Human Resource Management that Affects Organizational Commitment of Personnel at Thai Higher Education Institutions. Journal of Administrative Administration, 10(1), 196-220.