สันติวัฒนธรรม วิถีพราหมณ์ วิธีพุทธ

Main Article Content

ณัฐปุรเชษฐ์ สุขสมบัติวัฒนา

บทคัดย่อ

ศาสนาพรามหณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านาน ซึ่งทั้งสองศาสนาต่างมีคำสอนที่เน้นแก้ปัญหาความขัดแย้ง และบรรเทาความทุกข์ที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อให้คนในสังคมสามารถใช้ชีวิตและอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ซึ่งบทความนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ บริบท วัฒนธรรม สภาพปัจจุบัน หลักธรรมทางศาสนา เพื่อวิเคราะห์หลักสันติวัฒนธรรม และเพื่อเสนอการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรม ที่คนในสังคมมีความแตกต่างกันทางด้านศาสนา ศาสนากับสันติภาพนับว่าเป็นประเด็นที่สังคมคาดหวัง ความปรารถนาที่จะให้ศาสนาเข้ามามีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพและจัดการความขัดแย้งในสังคม ภายใต้บริบทโลกของความทันสมัยที่เป็นปริมณฑลที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่มีชีวิต และมีความหลากหลายทั้งศาสนาและวัฒนธรรม ดังนั้นทุกคนในชุมชนควรความเชื่อที่ไม่ส่งเสริมความรุนแรง เอื้อต่อความสมานฉันท์และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เพราะสันติวัฒนธรรมทำให้เกิดความเข้าใจวิถีการดำรงชีวิตด้วยความรัก ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อกัน การให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก ประสบปัญหาและทำให้เห็นว่าความสุขนั้นเกิดจากการให้ มิใช่เกิดจากการบริโภคหรือการสะสมมาก ๆ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญประการหนึ่งในการดำรงชีวิต เพราะศาสนาทุกศาสนามีลักษณะเหมือนกัน คือ คำสอนของทุกศาสนา เป็นระบบทางศีลธรรม เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีเป็นที่พึ่งหรือที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และเป็นหลักปฏิบัติที่นำไปสู่ชีวิตที่สมบูรณ์ ซึ่งความสอดคล้องของ หลักธรรมในศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ฮินดูที่สำคัญนั้นก็เป็นการมุ่งเน้นให้คนทำดีละเว้นกระทำชั่ว มีความรักและความเมตตา มีความอดทนและความเสียสละ มีความอุตสาหะพยายาม เน้นการพึ่งตนเอง และการพัฒนาตนเองอยู่เสมอดังนั้น สันติวัฒนธรรมในยุคปัจจุบันจึงต้องเป็นวัฒนธรรมที่ช่วยให้องค์ประกอบของสรรพสิ่งสมดุล คนอยู่ได้อย่างมีความสุขจากอิสรภาพ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เกื้อกูล และกตัญญูต่อสรรพสิ่งที่เอื้อต่อชีวิต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Ariyaratne, A. T. (n.d.). Collected Works: Volume I. Nantasena Ratnapala (eds.). Sri Lanka: Sarvodaya Research Institute.

Chairat, T. (2021). Life and Thai Society. Retrieved October 10, 2023, from https://pubhtml5.com/usfw/qlyi/

Chummanon, Ch. (1998). Religion and Peace: A Comparative Study of Peace in Brahmanism-Hinduism and Theravada Buddhism. (Research Report). Mahidol University. Bangkok.

Green, P. (1990). The Buddhist Roots of Active Non-Violence. Alkmaar, the Netherlands: Winter.

Janchidfa, S. (2005). Violence in the Mist: Reporting on the Presence of Pain in Southern Thailand. Aséanie, Sciences Humaines en Asie du Sud-Est, 16(2005), 175-177.

Khandi, A. (2010). The Spirit of Non-Violence, Heritage, on the Path of Peace, Learning my Way. Bangkok: Komolkeemthong Foundation.

Phra Medhidharmaporn (Prayoon Dhammacitto). (1989). A Buddhist Approach to Peace. Bangkok: Amarin Printing.

Phra Paisal Visalo. (1991). Oab Kod. Bangkok: Religious Coordination Center for Society.

______. (2007). Peaceful Methods and Non-Violent Resistance. Bangkok: Religious Coordination Center for Society.

Phraathikan Somchay Maneerat, Phramaha Thongchai Thammathwee, Phramaha Khuntong Kaewsamutand, & Phra Jaran Suwajo (2020). The Development of Buddhist Strengthening Community: A Case Study of Ban Woh, Laokwang Sub-District, Nonkhoon District, Sisaket Province. Journal of Graduate MCU Ubon Review, 5(1), 194-204.

Sirisakdamkoeng, P. (2016). Skill of Culture. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organisation).

Thich Nhat Hanh. (1983). Please Call Me by My True Names. Berkeley CA: Parallax Press.

Tushevavong, W. (2011). Advertising Across Cultures. Bangkok: Thammasat Press.

Wattanasap, W. (2002). Conflict Resolution in Educational Institutions. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.

Wiyaboon, S., Yenjaima, R., & Ngamsnit, S. (2019). Application of Aparihãniyadhamma for Community Council Strengthening Management in Rayong Province. Journal of MCU Social Science Review, 8(4), 124-135.

Yuri, W. (2004). The Healing Strategy to Achieve Peace Together. (Translation by Benjawan Saechua). Bangkok: Fuangfa Printing.