การพัฒนารูปแบบการป้องกันยาเสพติดของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ไวกูณฐ์ ครองยุทธ
มาลี ไชยเสนา
จุฑามาส ชมผา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการดำเนินงานการป้องกันยาเสพติดของนักศึกษา  ในสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) พัฒนารูปแบบการป้องกันยาเสพติดของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ประเมินรูปแบบการป้องกันยาเสพติดของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเป้าหมาย ระยะที่ 1 คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการป้องกันยาเสพติดของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 152 คน ระยะที่ 2 คือ ผู้เชี่ยวชาญ 15 คน และระยะที่ 3 คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และ   แบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานการป้องกันยาเสพติดของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการสำรวจสภาพปัญหายาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (gif.latex?\bar{x} = 3.45) 2) รูปแบบการป้องกันยาเสพติดของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการ คือ การป้องกันยาเสพติดในสถาบัน อุดมศึกษาโดยอาศัยการมีส่วนร่วมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษาสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจสำหรับนักศึกษาและบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 3. การดำเนินการ 4. เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษามีแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการขับเคลื่อนกลไกคณะกรรมการและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันจากหลายภาคส่วนโดยกระบวนการดูแล เชื่อมโยง ส่งต่อ ติดตาม ความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานภาคเอกชน ประชาคมในท้องถิ่น 3) การประเมินการพัฒนารูปแบบการป้องกันยาเสพติดของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ครองยุทธ ไ. . . ., ไชยเสนา ม. . ., & ชมผา จ. . . (2024). การพัฒนารูปแบบการป้องกันยาเสพติดของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(3), 1032–1042. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/272053
บท
บทความวิจัย

References

Arrahimee. A. et al. (2021). Important Malaysia Research to Thailand. (6th ed.). Bangkok: Thailand Science Research and Innovation (TSRI).

Department of Corrections, Ministry of Justice. (2021). Statistics on People in Prison for Drug Offenses Nationwide. Retrieved January 12, 2023, from https://www.correct.go.th

Jandeang, B. (2017). Analysis of Current Drug Situation Problem. Journal of Research and Development Institute, Rajabhat Maha Sarakham University, 4(2), 37-56.

Orachon, K. (2023). Walailak University’s Summary Reports on the Structure of Drug Abuse Prevention and Solutions under the Council of Higher Education Institutes in the Upper Southern Region. Retrieved January 12, 2023, from https://dsa.wu.ac.th/?p=216653

Saichuai, S. (2019). A Report on Protecting and Helping Students, the Secondary Educational Service Area Office Area 12, Academic Year 2019. Retrieved January 12, 2023, from https://www.sea12.go.th/education/images/stories/pdf/June63/sw22.pdf

Salod, K., & Dilokwuttisit, P. (2016). Developing a Model from the Prevention of Drugs Spreading among Children and Youth in the Municipal Area of Muang District, Chachoengsao Province. Community Journal, 10(1), 116-124.

Sangsana, C., & Thai-aree, P. (2016). The Participation of Residents in Preventing and Solving the Drug Problem of Klong Muang Nue Village, No.3 Lam Paya Klang Sub-district, Muaklek District, Saraburi Province. Retrieved January 12, 2023, from https://grad.dpu.ac.th/upload/content/files/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%204%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%203%20%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%20%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%20%20%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%202559/vol4-3-26.pdf