การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน ร่วมกับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก

Main Article Content

เกษณี พิมพาลัย
วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียนร่วมกับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เพื่อส่งเสริมทักษะการออกแบบ       เชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสุนทรพิชิตาราม 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียนร่วมกับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เพื่อส่งเสริมทักษะการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสุนทรพิชิตาราม เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียนร่วมกับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


ผลวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีองค์ประกอบของชุดกิจกรรม 7 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) คู่มือผู้สอน หรือคู่มือการใช้ชุดกิจกรรม (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) คำอธิบาย คำชี้แจง หรือคำแนะนำในการใช้ (4) เนื้อหาสาระ, บัตรเนื้อหา (5) แบบฝึกหัด บัตรกิจกรรม หรือบัตรงาน (6) แบบทดสอบวัดประเมินการเรียนรู้ (7) สื่อวัสดุการเรียนรู้ และผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม พบว่าชุดกิจกรรมทุกชุดมีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพเท่ากับ 4.93 หมายความว่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ พบว่า 2.1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียนร่วมกับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม พบว่า มีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนเฉลี่ย 6.64 คะแนน 2.2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการออกแบบเชิงวิศวกรรมของนักเรียน หลังใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ พบว่ามีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนเฉลี่ย 6.24 2.3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยภาพรวมมี่ค่าเท่ากับ 4.41 อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
พิมพาลัย เ. ., & เตชะวัฒนศิริดำรง ว. . (2024). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน ร่วมกับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(4), 1423–1434. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/271710
บท
บทความวิจัย

References

Aran, Y. (2018). Development of Learning Activity Sets Using the Technique of Thinking Alone-Thinking in Pairs-Thinking Together (Think-Pair-Share) to Promote Scientific Process Skills for Students Grade 6. (Master's Thesis). Dhurakij Pundit University. Bangkok.

Constitution of the Kingdom of Thailand 2017. (2017, April 6). Royal Gazette, Volume 134, Section 40 A.

Khaemmanee, T. (2021). Teaching Science, Knowledge for Organizing Effective Learning Processes, Efficiency. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Krueathong, S., & Leesuksam, N. (2020). Study of Design Process Skills, Engineering by Organizing Learning according to STEM Concepts Regarding Electricity for Students in Secondary School Year 3. Educational Journalism and Human Development, 4(1), 78-91.

Ministry of Education. (2017). National Education Plan 2017-2036. Bangkok: Office of the Secretariat of the Education Council.

Nakhon Nayok Primary Educational Service Area Office. (2020). Basic Education Quality Development Plan Nakhon Nayok Primary Educational Service Area Office 2020-2022. Nakhon Nayok: Policy and Planning Group Nakhon Nayok Primary Educational Service Area Office.

National Institute of Educational Testing (Public organization). (2021). National Test Results Report Basic (O-NET) Grade 6, Academic Year 2021. Retrieved June 4, 2023, From https://catalog.niets.or.th/group/examresult

National PISA Operations Center, Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2021). PISA 2018 Assessment Results for Reading, Mathematics and Science. Retrieved June 4, 2023, from https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12/

Sirimongkol, M. (2022). Teachers at the Primary Level in the Science and Technology Subject Group. Interview. September, 26.

Suttirat, C. (2021). Learning Management for Change. Nonthaburi: MDL Graphics.

Tangam, S. (2019). Developing Creativity Using the Engineering Design Process to Creative Technology Subject of Students in Grade 2. (Master's Thesis). Dhurakij Pundit University. Bangkok.

Tubthom, K. (2022). Teachers at the Primary Level in the Science and Technology Subject Group. Interview. September, 30.