การออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือการคิดกับนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์
ประสาท เนืองเฉลิม
วาสนาไทย วิเศษสัตย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือการคิดกับนักศึกษาวิชาชีพครู 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือการคิดกับนักศึกษาวิชาชีพครู และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือการคิด กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Custer Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือคิดจำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เป็นแบบปรนัยมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.96 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 แบบวัดความพึงพอใจเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่ามีค่าอำนาจจำแนก (rxy) ตั้งแต่ 0.47 ถึง 0.76 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90


ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือการคิดกับนักศึกษาวิชาชีพครู พบว่าหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 10 แผน นักศึกษาได้เรียนรู้เครื่องมือคิด 10 ชนิด ได้แก่ Key Question, Walk and talk, Think pair share, Round Robin, Mind Mapping, Jigsaw, Tug of war, Place Mats, Card add Chart และ Hot Ball เครื่องมือคิดเหล่านี้นักศึกษาให้ความสนใจกิจกรรมเป็นอย่างมาก บางคนมีข้อสงสัยและตั้งคำถามถามครูนอกเหนือจากแผนที่เขียนไว้ ซึ่งก่อนที่ครูจะตอบก็ใช้วิธีการถามกลับให้คิดก่อน แล้วค่อยๆเชื่อมโยงคำตอบให้เข้าใจ เมื่อเรียนรู้ครบทั้งทุกแผนนักศึกษาได้ข้อสรุปว่าควรนำเครื่องมือคิดไปใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับพัฒนานักเรียนในอนาคต โดยเฉพาะการพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียนทั้งคิดคนเดียว คิดเป็นคู่ หรือ คิดเป็นกลุ่ม 2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือการคิดกับนักศึกษาวิชาชีพครูมีเท่ากับ 0.84 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือการคิดอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amorncheewin, B. (2011). Thinking School. Bangkok: Parbpim.

Anuthida, K. (2021). Flipped Classroom Learning Management via Facebook and Thinking Tools for Analytical Thinking Enhancement of Mathyom 2 WatThaichumpol Municipality School. Journal of Faculty of Education Pibulsongkram Rajabhat University, 8(1), 23-36.

Bellanca, J. A. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. United States: Solution Tree Press.

Cam, P. (2006). Twenty Thinking Tools. Victoria: Australian Council for Educational Research Ltd.

Chaiyabang, W. (2019). Nokkala School. (19th ed.). Mahasarakham: Lamplaimat Pattana Printing.

De Bono, E. (2016). Six Thinking Hats: The Multi-million Bestselling Guide to Running Better Meetings and Making Faster Decisions. UK: Penguin Life.

Liedtka, J. (2011). Learning to Use Design Thinking Tools for Successful Innovation. Strategy & Leadership, 39(5), 13-19.

Techakupt, P. (2002). Learning Management in the 21st Century. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Weiss, D. S., & Legrand, C. (2011). Innovative İntelligence: The Art And Practice of Leading Sustainable İnnovation İn Your Organization. Toronto, Canada: John Wiley & Sons Canada, Ltd.

Woods, M., & Rosenberg, M. E. (2016). Educational Tools: Thinking Outside the Box. Clinical Journal of the American Society of Nephrology: CJASN, 11(3), 518-526.