การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูของครูรุ่นใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการในการส่งเสริมจิตวิญญาณความเป็นครูของครูรุ่นใหม่ วิเคราะห์ความจำเป็นในการส่งเสริมจิตวิญญาณความเป็นครูของครูรุ่นใหม่ และ ศึกษาแนวทางการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูของครูรุ่นใหม่ ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สำรวจความต้องการในการส่งเสริมจิตวิญญาณความเป็นครูของครูรุ่นใหม่ ระยะที่ 2 วิเคราะห์ความจำเป็นในการส่งเสริมจิตวิญญาณความเป็นครูของครูรุ่นใหม่ และ ระยะที่ 3 ศึกษาแนวทางการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูของครูรุ่นใหม่เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจความต้องการส่งเสริมจิตวิญญาณความเป็นครูของครูรุ่นใหม่ แบบประเมินความสอดคล้องระหว่างจิตวิญญาณความเป็นครูกับมาตรฐานวิชาชีพครู มาตรฐานคุณวุฒิ และมาตรฐานการศึกษาชาติ แบบวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง แนวทางการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูของครูรุ่นใหม่ และ แบบประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูของครูรุ่นใหม่
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการในการส่งเสริมจิตวิญญาณความเป็นครูของครูรุ่นใหม่โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการเสียสละในงานของครูมีระดับความต้องการส่งเสริมมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการรับผิดชอบหน้าที่ของครูมีระดับความต้องการส่งเสริมมาก ด้านความเชื่อมั่นในศักยภาพมนุษย์มีระดับความต้องการส่งเสริมมาก และด้านความเสมอภาคต่อนักเรียนมีระดับความต้องการส่งเสริมมาก 2) จิตวิญญาณความเป็นครูมีความจำเป็นที่ควรส่งเสริมกับครูรุ่นใหม่ ดังระบุไว้ในมาตรฐานวิชาชีพครู มาตรฐานคุณวุฒิปริญญาตรี และมาตรฐานการศึกษาชาติ 3) แนวทางการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูของครูรุ่นใหม่โดยใช้กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา โดยกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู มี 4 แนวทางในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การสร้างแรงบันดาลใจ การใช้จิตวิทยาด้านบวก การเรียนรู้กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา และการสร้างวิถีปฏิบัติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Aiemphaya, K., Noymanee, N., Anukulwech, A., & Raso, D. (2021). The Teachers’ Spirit in 21st Century. Journal of Educational Review Faculty of Education in MCU, 8(2), 398-409.
Asdornnithee, S. (2013). Seeking Intellectual Knowledge in Contemplative Education. Nakhon Pathom: Contemplative Education Centre, Mahidol University.
At the Meeting of the President of Rajabhat Universities Nationwide. (2017). The New Strategy of Rajabhat University to Develop Local According to The Royal Patronage. Bangkok: Ministry of Education.
Brantmeier, E. J., Lin, J., & Miller, J. P. (2010). Spirituality, Religion, and Peace Education. Iap.
Chaiyabang, W. (2018). Contemplative Education for Inner Wisdom. (9th ed.). Mahasarakham: Apichat Printing.
Chalakbang, W. (2016). The Spirituality of Teachers: A Key Characteristic of Professional Teachers. Nakhon Phanom University Journal, 6(2), 123-128.
De Souza, M., Bone, J., & Watson, J. (2016). Spirituality Across Disciplines: Research and Practice. Dordrecht: Springer International Publishing.
Duerr, M. (2015). The Tree of Contemplative Practices. Center for Contemplative Mind in Society. Retrieved January 23, 2024, from http://www.contemplativemind.org/practices/tree
Lawthong, N., & Visessuvanapoom, P. (2010). Development of the Teacher Spirituality Scale. Journal of Research Methodology, 23(1), 25-54.
Mari, P., Siriwan, I., & Chaisuk, P. (2021). A Meditation Teaching Model to Secondary School Students in Accordance with the Meditation Style of Phrabhommamongkholayan (Wiriyang Sirindharo). Journal of Educational Review Faculty of Education in MCU, 8(1), 246-260.
Prasantree, T. (2018). Teacher’s Spiritual Cultivation. Journal of Curriculum and Instruction Sakon Nakhon Rajabhat University, 10(29), 153-165.
Secretariat Office of the Teachers Council of Thailand. (2018). Teachers’ Professional Development: Competency Framework. Bangkok: The Teachers' Council of Thailand.
Wisetsat, C., & Wisetsat, W. (2021). Learning Management Guideline Using by Contemplative Education to Enhance Teachers Spirituality of Pre-Service Teachers. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal, 27(1), 92-104.