การพัฒนาองค์ความรู้ เทคนิค กระบวนการดูแลด้านสุขภาวะสำหรับพระสงฆ์

Main Article Content

สุพิชฌาย์ พรพิชณรงค์
พระธรรมวชิราจารย์ (สุชาติ กิตฺติปญฺโญ)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรอบรู้การดูแลด้านสุขภาวะของพระสงฆ์ 2) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการอบรมพัฒนาเทคนิคและกระบวนการดูแลด้านสุขภาวะสำหรับพระสงฆ์และ 3) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ เทคนิค กระบวนการดูแลด้านสุขภาวะสำหรับพระสงฆ์ของพระคิลานุปัฏฐาก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาความรอบรู้การดูแลด้านสุขภาวะของพระสงฆ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พระสงฆ์ที่จำพรรษาในเขตกรุงเทพมหานคร 362 รูป ระยะที่ 2 ศึกษาผลการทดลองการใช้โปรแกรมอบรมพัฒนาองค์ความรู้ เทคนิค กระบวนการดูแลด้านสุขภาวะสำหรับพระสงฆ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พระสงฆ์ที่เข้าร่วมอบรมพระคิลานุปัฏฐากจำนวน 76 รูป และการปรับปรุงพัฒนาโปรแกรม โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 10 รูป/คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ t-test, และ Paired-samples T-test


ผลการวิจัย พบว่า 1. ความรอบรู้ด้านสุขภาวะของพระสงฆ์โดยรวม อยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันเป็นปัจจัยต่อความรอบรู้ด้านสุขภาวะแตกต่างกัน เมื่อจำแนกระดับการศึกษานักธรรม และระดับการศึกษาบาลีที่แตกต่างกัน ไม่เป็นปัจจัยต่อความรอบรู้ด้านสุขภาวะ 2. หลังการอบรมพระสงฆ์ที่เข้าร่วมโครงการมีค่าเฉลี่ยการพัฒนาเทคนิคและกระบวนการดูแลสุขภาวะทั้ง 4 ด้าน และค่าเฉลี่ยการพัฒนาการดูแลด้านสุขภาวะทั้ง 4 ด้าน สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. การปรับปรุงพัฒนาโปรแกรมอบรมเทคนิคและกระบวนการดูแลพระสงฆ์ให้สมบูรณ์ แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่ 1) การขับเคลื่อนงานความรอบรู้เรื่องสุขภาวะร่วมกับภาคีเครือข่าย 2) การพัฒนาโปรแกรมการอบรมและกลไกการทำงาน 3) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาวะ และ 4) พระสงฆ์ทุกกลุ่มวัยมีทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาวะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bureau of Elderly Health, Department of Health. (2018). Kilanupattak Training Guide. Bangkok: Bureau of Elderly Health, Department of Health, Ministry of Health.

Charoenlak, N., Nilkote, R., & Lundam, C. (2023). Research and Development of a Volunteer Network in the Community to Promote Health in the Vulnerable. Journal of MCU Peace Studies, 11(3), 848-861.

Department of Health. (2022). Invite the Merit Line to Give Alms to the Monks with a Healthy Menu. Retrieved July 15, 2023, from https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/130765/

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Nimtrakul, U. (2020). Health Behaviors of Monks and Health Literacy from Phra Kilanuphatthak to Communicators in Health Region 1. Journal of Buddhist Studies, 11(1), 33-51.

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a Public Health Goal: A Challenge for Contemporary Health Education and Communication Strategies into the 21st Century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.

Phrakhrusiripanyanuyok (Panya Phumala). (2018). A Model of Sangha Administrators Social Well-being Promotion in Thai Society. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Seetochai, W., & Wongwatthanaphong, K. (2021). Perceptions and Behavior of the Health Statute of Monks in Muang District, Phichit Province. Journal of MCU Buddhapanya Review, 6(3), 103-111.