การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ทนากร ศรีก๊อ
วิทยาธร ท่อแก้ว
กรกช ขันธบุญ
จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงราย ในประเด็นที่เกี่ยวกับ 1) บทบาทและสภาพปัญหาการสื่อสาร 2) รูปแบบการสื่อสาร และ 3) แนวทางการใช้ประโยชน์จากการสื่อสาร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก 27 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายก ปลัด ผู้อำนวยการกอง/ฝ่ายต่างๆ ผู้นำชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสื่อสารและพัฒนาชุมชน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การสื่อสารมีบทบาทในการให้ความรู้ต่างๆ สิทธิของประชาชน รับฟังความคิดเห็นผ่านการประชาคมหมู่บ้าน สำรวจความคิดเห็นจัดโครงการตามแผนพัฒนาท้องถิ่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ประสานงาน มอบอำนาจในการตัดสินใจให้แก่ประชาชนอย่างเสมอภาค สร้างความตระหนักในคุณค่าของตนเอง และพัฒนาตนเอง ส่วนสภาพปัญหาการสื่อสารคือ การประชาสัมพันธ์ด้านข้อมูลข่าวสารยังไม่ทั่วถึง ข้อกำหนดระยะเวลาการรับฟังความคิดเห็น ขาดการเผยแพร่ข้อมูลและบุคลากรขาดความชำนาญ การกระจายตัวของชุมชน การประกอบอาชีพหลัก ผู้มีอำนาจตัดสินใจไม่ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และข้อจำกัดของกฎ ระเบียบ 2) รูปแบบการสื่อสาร ควรร่วมพัฒนานโยบายโดยใช้การสื่อสารแบบสองทางจากเบื้องล่างขึ้นสูงเบื้องบน กำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปมีบทบาทในกิจกรรมที่สนใจ และร่วมตรวจสอบและประเมินผลการบริหารของ อบต. 3) แนวทางการใช้ประโยชน์จากการสื่อสาร ควรสร้างความรู้ความเข้าใจ ภาษาในการสื่อสาร สร้างความเชื่อมั่น สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ การบูรณาการ กลไกของคำสั่งการควบคุม การป้องกัน และการบริหารจัดการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chalee, J. (2021). Factors Affecting the Quality of Information Services: A Case Study of Organizations Administration of Sa Kaeo Province. (Master’s Thesis). Ramkhamhaeng University. Bangkok.

Changrea, T., & Biggins, U. (2018). Communication to Create Participation in Management Community Natural Resources to Tourism Sustainable: Tha Phru Community - Ao Tha Lane, Krabi Province. Journal of Communication and Management NIDA, 4(1), 62-72.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participations Place in Rural Development: Seeking Clarity Through Specificity. New York: World Developments.

Deborjago, B., & Lanui, A. (2020). People's Participation in Administration of Batong Subdistrict Administrative Organization, Rueso District, Narathiwat Province. Retrieved May 3, 2023, from http://www2.huso.tsu.ac.th/NCOM/husoicon2021/fullPDF/20211511317-456.pdf

IAPP. (2007). IAP2 Spectrum of Public Participation. Retrieved May 3, 2023, from http://c.ymcdn.com/sites/www.iap2.org/resource/resmgr/Foundations_Course/IAP2_P2_Spectrum.pdf

Makkong, M., Sridee, S., & Thokaew, W. (2022). Engaging Communication to Solve the Wastewater Problem of Khlong Si Wa Passawat Samut Sakhon Province. Journal of Administration and Local Innovation, 4 (3), 79-98.

Norasing Subdistrict Administrative Organization. (2018). Authority of the Local Government Organization. Ang Thong: Norasing Subdistrict Administrative Organization.

Phra Thawatchai Santidhammo (Wannawin). (2018). Public Participation in Community Development in the Municipality, Sakaew Province. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

United Nations. (1981). Planned Population Distribution of Development. New York: United Nations.

Upayokin, P. (2017). Ethnic Diversity and Border Economic Development in Mae Sai District, Chiang Rai Province. Journal of Social Sciences Faculty of Political Science, 47(1), 81-105.

Wala, T., & Navaku, S. (2022). The Role of Sub-district Administration Organizations in Local Tourism Management: A Case Study of Wat Sri Mongkol Community, Nan Province. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(4), 386-402.

Walaisathien, P. (2003). Processes and Techniques for Developers. Bangkok: Project to Promote Learning for Happy Communities.

Warunsaharachaphon, S. (2019). Public Participation in Local Administrative Administration Talat Chinda Subdistrict Administrative Organization, Sampran District, Nakhon Pathom Province. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.

Yaboonna, N., Jullajakwat, J., & Jaipakdee, S. (2017). The People’s Participation in Formulating the 3-year Development Plan (B.E. 2557-2559), Tombol Banpong Subdistrict Municipality, Amphor Hangdong, Chaingmai Province. Ganesha Journal, 13(1), 147-162.

Yuenyong, Th. (2018). People’s Participation Affecting Local Development in Nakhon Nayok Province. Journal of MCU Nakhondhat, 5(2), 119-132.