การประกอบสร้างเชาวน์ปัญญาในนิทานพื้นบ้านเมืองเลย: ทุนทางสังคมของคนท้องถิ่น

Main Article Content

ศาริศา สุขคง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างเชาวน์ปัญญาในนิทานพื้นบ้านเมืองเลยในฐานะที่เป็นทุนทางสังคมของคนท้องถิ่น โดยใช้แนวคิดการประกอบสร้างทางสังคม แนวคิดทุนทางสังคมและแนวคิดการเล่าเรื่องมาเป็นกรอบในการศึกษา ซึ่งผู้เขียนได้นำข้อมูลนิทานพื้นบ้านเมืองเลยที่เรียบเรียงและรวบรวมโดยสาร สารทัศนานันท์ มาศึกษาและคัดเลือกนิทานที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเชาวน์ปัญญา จำนวน 9 เรื่อง ได้แก่ ผีผึบพึ้ม ผีกองกอย น้อยหาญหมี หลาบตายขายขี้ กวางคำกับสหาย สี่สหาย หัวล้านชอบยอ ลูกสะใภ้เศรษฐี และผัวเป็นเพียเพราะเมียช่างพูด เชาวน์ปัญญาในนิทานพื้นบ้านเมืองเลยมีทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ เชาวน์ปัญญาด้านวาทศิลป์ และเชาวน์ปัญญาด้านจริยวัตร และเชาวน์ปัญญาด้านมโนทัศน์ เมื่อศึกษาวิเคราะห์การประกอบสร้างเชาวน์ปัญญาในนิทานพื้นบ้านเมืองเลยพบว่ามีการประกอบสร้างจากการเล่าเรื่องผ่านองค์ประกอบของวรรณกรรมอย่างโดดเด่น ประกอบไปด้วยกลวิธี 3 แบบ ได้แก่ การเล่าเรื่องผ่านตัวละคร การเล่าเรื่องผ่านเหตุการณ์ และการเล่าเรื่องผ่านความขัดแย้ง กลวิธีการประกอบสร้างเชาวน์ปัญญาทั้งหมดแสดงให้เห็นกระบวนการสร้างสรรค์ซึ่งนำสู่การเป็นทุนทางสังคมทั้งในระดับปัจเจกชน ระดับครอบครัว และระดับชุมชนที่สร้างพลังทางปัญญาและภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิตของคนท้องถิ่นได้อย่างทรงคุณค่า

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Anantasant, S. (1995). Comparative Folktales. (2nd ed.). Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.

Bruce, S. (2016). Sociology: A Pocket Edition. Bangkok: Openworlds.

Damsri, W. (1996). Folktales: Nakhon Si Thammarat Local Cultural Heritage. Nakhon Si Thammarat: Cultural Arts Center Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.

Hongsuwan, P. (2018). Folklore and Social. KhonKaen: Klangnana.

Louiyapong, K. (2013). Films and Construction of Society, People, History and Nation. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Romratanaphan,W. (2005). Social Capital. Bangkok: Learning for Community Happiness Project.

Royal Institute Edition. (2012). Dictionary of Educational Terms: Royal Institute. Bangkok: Royal Institute.

Sangkhaphanthanon, Th. (1996). Literary Criticism. Pathum Thani: Nakhon.

Saratassananan, S. (1992). Folk Tales of Muang Loei. Loei: Art and Culture Center of Loei Teacher College and Namjai Found.

Sirasunthorn, P. (2015). Knowledge, Power, and Health: From Theory to Practice. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Sukkhong, S. (2023). Isan Didactic Literature: Knowledge Construction and the Relationship to Other Literature. (Doctoral Dissertation). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Tariya, S. (1996). Analysis of Folk Tales of Loei Province. (Master’s Thesis). Naresuan University. Phitsanulok.

Taweewan, W., & Srichok, P. (2022). The Analysis of Folk Tales and Folk Media of Loei Province. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 17(59), 75-83.

Thanyaprakob, S., & Hongsuwan, P. (2017). Tai Loei Myths of Towns and Social Practices Related to Ethnic Consciousness. Humanities and Social Sciences Journal, 8(1), 122-154.

Thitathan Na Thalang, S. (1994). Tales and Games in the Local Area: A Study of Folklore in Thai Social Contexts. Bangkok: Matichon.