การพัฒนาเชิงพื้นที่ของพระบัณฑิตอาสาและพระธรรมจาริกด้วยนวัตกรรมชุมชนวิถีพุทธ เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของราษฎรบนพื้นที่สูง

Main Article Content

สมบูรณ์ ตาสนธิ
พระครูพิลาสธรรมากร (ณัฐพล ประชุณหะ)
พระมหาธณัชพงศ์ สุพฺรหฺมปญฺโญ (คิดอ่าน)
อำนาจ ขัดวิชัย
บัวสวรรค์ จันทร์พันดาว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยนวัตกรรมชุมชนวิถีพุทธ เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของราษฎรบนพื้นที่สูง 2) เพื่อสร้างนวัตกรรมชุมชนวิถีพุทธของพระบัณฑิตอาสาและพระธรรมจาริก เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของราษฎรบนพื้นที่สูง ใช้รูปแบบการวิจัยผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ในพื้นที่ 3 ชุมชน คือ (1) บ้านดอกแดง (2) บ้านห้วยบง (3) บ้านจันทร์ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 21 ราย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ (1) พระบัณฑิตอาสา/พระธรรมจาริก 3 ราย (2) ผู้นำชุมชน/ปราชญ์ชาวบ้าน 3 ราย (3) ชาวบ้าน 12 ราย (4) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนานวัตกรรมชุมชนวีถีพุทธ 3 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก มีกิจกรรมการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทำการประเมินผลกิจกรรมทั้งก่อน-หลัง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวัดระดับ ได้ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) กับค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทำการแปรผลและสรุปผล


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนารูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยนวัตกรรมชุมชนวิถีพุทธ ประกอบด้วยการส่งเสริมการศึกษา การเผยแผ่ธรรมะ และการพัฒนาสาธารณูปโภค มีกระบวนการ 5 ประการ (1) การพึ่งพาตนเอง (2) การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ (3) การสร้างวัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (4) การมีส่วนร่วมระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน (5) การสร้างวัฒนธรรมให้เป็นสินค้า 2) การสร้างนวัตกรรมชุมชนวิถีพุทธ พระสงฆ์ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ (สิกขา) เพื่อพัฒนาให้มีความเพียรในการประกอบสัมมาอาชีวะ คณะผู้วิจัยได้มีส่วนร่วมพัฒนาสลากผลิตภัณฑ์ (โลโก้) “ขายดีของดอย” 1 แบบ และผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นสินค้าต้นแบบ จำนวน 3 ชิ้น คือ (1) ข้าวดอยดอกแดง (2) กาแฟห้วยบง (3) ผ้าทอวัดจันทร์ เพื่อส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายสินค้าชุมชนของราษฎรบนพื้นที่สูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Duangwiset, N. (2014). Ethnicity and Neoliberalism. Bangkok: Puppet Printing Co., Ltd.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Pali Tripitaka. Bangkok: MCU Press.

______. (1996). Thai Tripitaka. Bangkok: MCU Press.

______. (2022). Mahachulalongkornrajavidyalaya University Development Plan, Phase 13 (2023-2027). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Mukpradit, M. (2002). The Middle Path in the Tripitaka and the Middle Path in the Concept of Sufficiency Economy under the Royal Initiative. (Doctoral Dissertation). Graduate School, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phra Metheedhammachan. (2022). Mahachulalongkornrajavidyalaya University Development Plan Phase 13 (2023-2027). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Phromkhunaporn. (2008). Buddhist Holistic Health. Bangkok: Sahamit Printing and Publishing Co., Ltd.

Phra Suteerattanapandit. (2021). Cultural Heritage Management in Buddhism. Bangkok: The Law of Printing.

Phramahasuthit Apakaro (Oun). (2005). Learning Innovation: People, Communities and Development. Bangkok: Phisit Thai Offset.

Sirasunthorn, P. (2013). Concepts, Theories, Techniques and Applications for Social Development. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Taengseng, T., Thongrung, N., & Wongwatthanaphong, K. (2020). The Community Development Based Buddhist Way of Life. Journal of Modern Learning Development, 5(4), 239-253.

Wasi, P. (1997). Monks and Social Literacy. (2nd ed.). Bangkok: Mo Ban Publishing House.

______. (1999). Sufficiency Economy and Civil Society. Guidelines for Revitalizing the Economy and Society. Bangkok: Local Doctor.