ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวรรณะสีของห้องเรียนและบุคลิกภาพที่มีต่ออารมณ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างวรรณะสีของห้องเรียนกับบุคลิกภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่มีต่ออารมณ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) เปรียบเทียบอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวและแบบแสดงตัว เมื่อเรียนในห้องเรียนวรรณะสีร้อน และห้องเรียนวรรณะสีเย็น และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว และแบบแสดงตัว เมื่อเรียนในห้องเรียนวรรณะสีร้อนและห้องเรียนวรรณะสีเย็น เป็นการวิจัยประเภท เชิงทดลอง แบบแผนการวิจัยแบบแฟคทอเรียล กลุ่มทดลองที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 96 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่าง แบบชั้นภูมิ เครื่องมือ ที่ ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบบุคลิกภาพ 2) แบบวัดอารมณ์ 3) แบบทดสอบความรู้ก่อนการเรียน และ 4) แบบทดสอบความรู้ หลังการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบสองทาง
ผลการวิจัยพบว่า 1) ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวรรณะสีของห้องเรียนกับบุคลิกภาพที่มีต่ออารมณ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 2) ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวรรณะสีของห้องเรียนกับบุคลิกภาพที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 3) นักเรียนที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกัน เมื่อเรียนในห้องเรียนวรรณะสีร้อนมีอารมณ์ไม่แตกต่างกัน 4) นักเรียนที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกัน เมื่อเรียนในห้องเรียนวรรณะสีเย็น มีอารมณ์ไม่แตกต่างกัน 5) นักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว เมื่อเรียนในห้องเรียนที่มีวรรณะสีของห้องเรียนแตกต่างกัน มีอารมณ์ไม่แตกต่างกัน 6) นักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบแสดงตัว เมื่อเรียนในห้องเรียนที่มีวรรณะ สีของห้องเรียนแตกต่างกัน มีอารมณ์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7) นักเรียนที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกัน เมื่อเรียนในห้องเรียนที่มีวรรณะสีร้อน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน 8) นักเรียนที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกัน เมื่อเรียนในห้องเรียนวรรณะสีเย็น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน 9) นักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว เมื่อเรียนในห้องเรียนที่มีวรรณะสีของห้องเรียนแตกต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 10) นักเรียนที่มีบุคลิกภาพแบบแสดงตัว เมื่อเรียนในห้องเรียนที่มีวรรณะสีของห้องเรียนแตกต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Birren, F. (1978). Color and Human Response. New York: Van Nostrand Reinhold Company.
Chao, L. et al. (2022). The Effect of Classroom Wall Color on Learning Performance: A Virtual Reality Experiment. Retrieved April 26, 2022, from https://shorturl.asia/CcyM9
Choungourian, A. (1966). Introversion-Extraversion and Color Preferences. (Master’s Thesis). American University of Beirut. Beirut Lebanon.
Cigić, D., & Bugarski, V. (2010). Personality Traits and Colour Preferences. Retrieved March 15, 2022, from https://shorturl.asia/UTjSF
Cuykendall, S. B, & Hoffman, D. D. (2008). Color to Emotion Ideas and Explorations. Retrieved May 8, 2020, from https://shorturl.asia/Cd2jT
Department of Mental Health (2002). Research Report - Development of Emotional Intelligence Assessment for Children Aged 3-5 and 6-11 Years. Nonthaburi: The Printing Office to War Veterans Organization.
Eysenck, H. (1959). Dimension of Personality. London: Routledge and Kegan.
Haller, K. (2019). The Little Book of Colour: How to Use the Psychology of Colour to Transform Your Life. London: Penguin Books Ltd.
Harrington, L. (2018). E-mail. November 21, 2018.
Itten, J. (1961). The Art of Color. New York: John Wiley & Sons, Inc.
Jitlung, J. (2019). Strategies for Enhancing National Achievement Test Performance at the Fundamental Level (O-NET) in Schools Affiliated with Bangkok Metropolitan Administration. Retrieved May 2, 2019, from https://shorturl.asia/sFcVJ
Jung, G. J. (1959). Psychological Types. London: Routledge’s Regan Paul Ltd.
Kaeokangwan, S. (2008). Personality Theories. (15th ed.) Bangkok: Thai Health Book.
Lalbabuprasad, S. G., & Guney, A. R. (2021). Effect of Colours on Perception and Cognition of Students Belonging to Two Different Age Groups. Retrieved June 13, 2022, from https://shorturl.asia/BAC3v
Mahnke, F. H. (1996). Color, Environment, and Human Response. (2nd ed.) New York: Van Nostrand Reinhold.
Mcvey, G. F. (1969). Environment for Learning. Retrieved March 10, 2019, from https://eric.ed.gov/?id=ED030292
Poomsrikaew, K., & Tevarugsa, P. (1999) " Personality Inventory: Study Personality of Students in Chulalongkorn University. Journal of Education Studies, 28(1), 43-51.
Renk, E. (2017). The Use of Color in School. Retrieved May 5, 2020, from https://shorturl. asia/eHIAO
Rico, L. (2015). The Relationship between Personality Type and Color Preference for Color Combinations. Retrieved April 26, 2023, from https://shorturl.asia/fbeyK
Ritruechai, O., Santiwes, S., & Tongpong, N. (2017). Psychology of Color: BBL Classrooms. Journal of Education Khon Kaen University, 40(1), 1-14.
Schaie, K. W. (1966). Relation of Color and Personality. Retrieved April 26, 2023, from https://shorturl.asia/bIaUY
Smith, S. (1976). The Relationship between Human Color Preference and Human Personality Traits. (Master’s Thesis). Emporia Kansas College. USA.
The National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2021). O-NET. Retrieved March 2, 2019, from https://shorturl.asia/7ku3U