การพัฒนาภาวะผู้นำโดยพุทธสันติวิธีของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

วัชรี วัฒนาสุทธิวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบทการปฏิบัติหน้าที่ในภาวะผู้นำของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดกาญจนบุรี และแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาภาวะผู้นำตามวิทยาการสมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาภาวะผู้นำแนวพุทธสันติวิธีในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดกาญจนบุรี 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำโดยพุทธสันติวิธี ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดกาญจนบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการอริยสัจจ์โมเดล เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และกระบวนการวิพากษ์ แบ่งเป็น 6 กลุ่ม จำนวน 24 รูป/คน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ ไม่เชื่อมั่นในตัว อสม. เนื่องจากผู้เป็น อสม. ยังขาดภาวะการเป็นผู้นำ เช่นขาดภาวะการสั่งการ การสื่อสาร การมีวิสัยทัศน์ การมีส่วนร่วม การสร้างสันติภาพ ขาดทักษะการสอน ส่วนแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาภาวะผู้นำตามวิทยาการสมัยใหม่ 5 ด้าน คือ ด้านการสั่งการ สั่งด้วยความชอบธรรม เป็นการขอความร่วมมือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ตั้งเป้าพัฒนาสุขภาพประชาชน นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ด้านการมีส่วนร่วม ร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพชุมชน ด้านการสร้างสันติภาพ ไม่สร้างความขัดแย้ง พูดสิ่งที่สร้างสรรค์ ด้านการสอน สิ่งที่แนะนำถูกต้อง เป็นผู้ฟังที่ดี 2) พุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาภาวะผู้นำ คือหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ทาน (การให้) แบ่งปันสิ่งของ ให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ปิยะวาจา พูดสุภาพ-ไพเราะ-อ่อนหวาน พูดสร้างสรรค์ อัตถจริยา ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อส่วนรวม สมานัตตตา วางตนเสมอต้นเสมอปลาย ออกเยี่ยมชุมชนอย่างต่อเนื่อง และหลักภาวนา 4 คือ ด้านกายภาพ ด้านพฤติภาพ ด้านจิตภาพ และด้านปัญญาภาพ 3) กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำโดยพุทธสันติวิธีของ อสม. คือการบูรณาการหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 กับทฤษฎีภาวะผู้นำ 5 มิติ สังเคราะห์เป็น 5D2 Plus Model ผ่านการอบรมพัฒนาตามหลักภาวนา 4 คือ ด้านกายภาพ ด้านพฤติภาพ ด้านจิตภาพ และด้านปัญญาภาพ ได้องค์ความรู้ใหม่ที่เรียกว่า 5D2 & Plus2 Model มีความหมายดังนี้ 5D แรกคือ 5D Leadership ภาวะมิติผู้นำ 5 ด้าน ส่วน 5D ที่สองหมายถึง 5D ที่ได้จากการสังเคราะห์งานวิจัย คือ 1. Delivering knowledge การส่งมอบความรู้สู่ชาวบ้าน 2. Declare rewards การสร้างแรงจูงใจ 3. Desire health leader สร้าง อสม.ให้เป็นผู้นำด้านสุขภาพ 4. Diamond VHV. สร้าง อสม.ต้นแบบดุจเพชรที่ได้รับการเจียระไนอย่างดี 5. Digital skill การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล คำว่า Plus2 คือ Plus ตัวที่ 1 หมายถึงหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ส่วน Plus ตัวที่ 2 หมายถึงภาวนา 4 ดังนั้น 5D2 & Plus2 Model จึงเป็นกุญแจสู่การพัฒนาภาวะผู้นำโดยพุทธสันติวิธีของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดกาญจนบุรี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Jamkling, W. (2014). Leadership Behaviors that Should Be of Private Vocational School Administrators. (Master’s Thesis). King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. Bangkok.

Kochaseni, W. (2022). Universal Health and Preparedness Review (UHPR). Retrieved June 15, 2022, from https://thainews.prd.go.th/th/news/detailTCATG220505152253211

Munmee, T. (2019). Public Administration in Tripitaka. Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavid-yalaya University.

Nilpraphan, P. (2022). PMDU Prime Minister’s Delivery Unit. Retrieved June 15, 2022, from https://www.pmdu.go.th/thailand-rank-1st-for-best-covid-19-recover

Phra Pramote Vadakovido, & Phramaha Hansa Dhammahaso. (2019). A Model of Developing an Ideal Expert in Peace by Buddhist Peaceful Means. Journal of MCU Peace Studies, 7(Supplement Issue), S253-S265.

Sikkhapan, S. (2014). Real Leadership Model and Transformative Leadership of Director of Sub-district Health Promoting Hospitals Affecting the Effectiveness of Sub-district Promoting Hospitals in Southern Thailand. (Master’s Thesis). Thaksin University. Songkhla.

Wattanasuthiwong, V. (2021). Effectiveness of Village Health Volunteers in Muang District, Kanchanaburi Province. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Phranakhon Si Ayutthaya.