กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี: ศึกษาเฉพาะกรณีศาลแพ่ง

Main Article Content

สุกัญญา ริเริ่ม
อดุลย์ ขันทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท ความจำเป็น และแนวคิดทฤษฎีกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี ศึกษาเฉพาะกรณีศาลแพ่ง เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบอริยสัจโมเดลตามแนวทางของบันได 9 ขั้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์จำนวน 20 รูป/คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มเพื่อรับรองกระบวนการพัฒนา จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์และนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสอดรับกับผู้ประนีประนอมประจำศาลแพ่ง พบว่า วางตัวไม่เป็นกลาง ไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในคดีที่ไกล่เกลี่ย มีอคติ ใช้อารมณ์การสื่อสารด้วยคำพูดที่รุนแรง ขาดความรับผิดชอบ ขาดทักษะการไกล่เกลี่ย ส่งผลต่อปัญหากระบวนการไกล่เกลี่ยตามมา คือ คู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์ไกล่เกลี่ย ผู้ประนีประนอมขาดทักษะ ขาดหลักธรรมในการไกล่เกลี่ย ทนายความของทั้งสองฝ่ายมุ่งรักษาผลประโยชน์ของคู่ความ ผู้ประนีประนอมจดบันทึกข้อตกลงด้วยตนเอง วางตนไม่เหมาะสม คู่ความขาดความเชื่อถือ 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการไกล่เกลี่ย ได้แก่ ขั้นทุกข์ (วิเคราะห์ประเด็นความขัดแย้ง) ขั้นสมุทัย (วิเคราะห์สาเหตุความขัดแย้ง) ขั้นนิโรธ (วางเป้าหมายของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท) ขั้นมรรค (วิธีการของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท) โดยรวมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ต้องใช้แนวทางบันได 9 ขั้น มุ่งรักษาความสัมพันธ์ คดีจบใจจบ มีการขอโทษกัน 3) กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี ศึกษากรณีเฉพาะศาลแพ่ง มีองค์ประกอบดังนี้ (1) Mindset มีทัศนคติที่ดี มีศรัทธาในการทำหน้าที่ (2) Knowledge มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง เกี่ยวกับกฎหมาย และจิตวิทยาการสื่อสาร (3) Skill มีทักษะควบคุมอารมณ์ มีความเป็นกลาง ไม่ใช้อำนาจ มีทักษะการสื่อสาร ทักษะการฟัง ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการเป็นโค้ช (4) Inner Peace มีสันติภายใน มีความเย็น ความนุ่มนวล ความสุภาพ ควบคุมบริหารจัดการได้ดี นอกจากนี้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธีตามแนวทางของอริยสัจ 4 บูรณาการได้ดังนี้ 1) Mindfulness สติให้พร้อมสรรพ 2) Empathic Companion ดับอารมณ์คู่กรณี 3) Deep Listening เน้นฟังลึกซึ้ง 4) Instance Analysis ตรึงให้อยู่ในประเด็น 5) Appropriate Thinking เข็ญวิธีการให้สอดรับ 6) Thinking Wisely ปรับทัศนคติให้เทียบเท่า 7) Interest Finding ดึงเข้าสู่จุดสนใจ 8) Option Creating ให้ทางเลือกเพิ่ม และ9) New Relationship Building เสริมสร้างความสัมพันธ์ โดยสุดท้ายของกระบวนการไกล่เกลี่ยต้อง “คดีจบ ใจจบ” รักษาความสัมพันธ์ของคู่กรณี

Article Details

How to Cite
ริเริ่ม ส. ., & ขันทอง อ. . (2023). กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี: ศึกษาเฉพาะกรณีศาลแพ่ง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(5), 1975–1988. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/270138
บท
บทความวิจัย

References

Anantaprayoon, A. (2018). A Model of Developing the Mediators by Buddhist Peaceful Means: A Case Study of Chonburi Court. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Attapimon, S. (2016). Approaches that Lead Disputing Parties to Consensual Acceptance of Mediation in the Court of Justice. Academic Journal of Bangkok Thonburi University, 5(2), 74-83.

Chinkunkitniwat, N. (2019). The Qualifications of the Mediator in the Integrated Buddhist Perspective: A Case Study of Appealcourt 7. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Dharmasakti, N. (2007). Role of the Judge and Problems in Court Annexed Conciliation. (Master’s Thesis). Dhurakij Pundit University. Bangkok.

Judicial Promotion Office, Office of the Court of Justice. (2017). Law and Dispute Mediation. Bangkok: Active Print Company Limited.

Klungkorn, C. (2016). An Analytical Study of the Right Speech for Compromising: A Case Study of Mediators in Uttaradit Provincial Court. (Master’s Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Larppitakmongkol, P. (2019). Development of the Mediator Characteristics at Samutprakarn Provincial Court by Buddhist Peaceful Means. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Na Thalang, P. (2020). Civil Litigation Mediation Techniques: Steps and Processes, Course on Basic Knowledge and Techniques for Mediation, 2020. Mediator Training Documents. Civil Dispute Mediation Center of Mahachulalongkornrajavidyalaya University. 20-25 July 2020. N.P.: n.p.

Nuyimsai, W. (2018). A Model of the Mediation by Buddhist Peaceful Means: A Case of the Mediation Center of Lawyers Council, Bangkok. The Journal of MCU Peace Studies. 7(2), 302-314.

Office of the Court of Justice. (2022). Strategic Plan of the Court of Justice 2022-2025. Bangkok: P.A. Living Co., Ltd.

Phra Brahmabandit (Prayoon Dhammacitto). (2020). Multiplot Talks on Knowledge, Love and Unity Are Very Supportive. Director of the Sangha Council Sangha. Sangha Resolution 579 B.E. 2563. Retrieved March 20, 2022, from https://www.watprayoon.com/files/download/2563-11-28-%E0%B8%9EE0%B8%B0%E0%B8%A1%2%E0%B8%81.pdf

Phramaha Hansa Dhammahãso. (2011). Buddhist Peaceful Means: Integrating Conflict Management Principles and Tools. Bangkok: SE-ED Publishing House.

Pratheuangrattana, C. (2017). Building Harmony: The Fundamentals Concept of Conflict Management by Peaceful Means. Bangkok: Sun Packaging Company Limited.

Tajai, S. (2016). Problems and Obstacles of the Mediation in Family Cases: A Case Study at Centra Juvenile and Family Court (Meenburi Branch). (Master’s Thesis). Thammasat university. Pathumthani.

Tiansongjai, C. (2010). Buddhist Mediation: Concept and Tools for Conflict Management. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Trakankunphan, S. (2009). The Process of Mediation in the Justice System. Training Documents. Senior Justice Executive Program (Bor.Yor.Sor.) Class 12. College of Justice Office of the Court of Justice.