กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อสร้างความสมานฉันท์โดยพุทธสันติวิธี: ศึกษากรณี สะพานข้ามเข้าโรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วิพัฒน์ พัฒนสิน
อดุลย์ ขันทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท ความจำเป็น และแนวคิดทฤษฎีกระบวนการไกล่เกลี่ยตามศาสตร์สมัยใหม่ 2. ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการ ไกล่เกลี่ยเพื่อสร้างความสมานฉันท์โดยพุทธสันติวิธี 3. นำเสนอกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อสร้างความสมานฉันท์โดยพุทธสันติวิธี ศึกษากรณีสะพานข้ามเข้าโรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามกรอบบันไดของอริยสัจโมเดล 9 ขั้น ประชากรกลุ่มผู้ให้ข้อมูลนักไกล่เกลี่ย นักวิชาการ นักการศาสนา และผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 25 รูป/คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์และนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาของคนในชุมชนได้รับความเดือดร้อน ซึ่งไม่มีการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน จึงจำเป็นจะต้องอาศัยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในการสร้างความเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงเกิดจากความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน ความคลุมเครือ และได้นำไปสู่ความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกัน 2. หลักอริยสัจเป็นหลักพุทธธรรมในการวิเคราะห์ระดับคู่ขัดแย้ง ได้แก่ 1) ขั้นทุกข์ เป็นการวิเคราะห์ประเด็นความขัดแย้ง 2) ขั้นสมุทัย เป็นการวิเคราะห์สาเหตุความขัดแย้งว่าสาเหตุที่แท้จริง ที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง 3) ขั้นนิโรธ หาความต้องการที่แท้จริงของคู่ขัดแย้ง 4) ขั้นมรรค วิธีการกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อสร้างความสมานฉันท์โดยพุทธสันติวิธี ที่เน้นสนับสนุนให้คู่ขัดแย้งมีความร่วมมือในการแก้ปัญหา 3. กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อสร้างความสมานฉันท์โดยพุทธสันติวิธี พบว่า การสร้างความปรองดองในกรอบของห้าเสาหลักสู่การเจรจาไกล่เกลี่ย ได้แก่ 1) เสาความจริง ให้พูดความจริงแม้มันจะเจ็บปวด 2) เสาความรัก ความรักที่มีต่อกัน ไม่มีการด่าทอ 3) เสารับผิดชอบ จงมีการรับผิดชอบร่วมกัน 4) เสาความเป็นกลาง มีความยุติธรรม 5) เสาสามัคคี เป็นพลังของคนในชุมชนสังคม โดยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมีการวิเคราะห์คู่ขัดแย้ง 4 ขั้น 1) ขั้นประเด็นปัญหา 2) ขั้นสาเหตุปัญหา 3) ขั้นวางเป้าหมาย 4) ขั้นวิธีการของกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อสร้างความสมานฉันท์ด้วยบันได 9 ขั้น ได้แก่ 1) สติให้พร้อมสรรพ 2) ดับอารมณ์คู่กรณี 3) เน้นฟังลึกซึ้ง 4) ตรึงให้อยู่ในประเด็น 5) เข็ญวิธีการให้สอดรับ 6) ปรับทัศนคติให้เทียบเท่า 7) ดึงเข้าสู่จุดสนใจ 8) ให้ทางเลือกเพิ่ม และ 9) เสริมสร้างความสัมพันธ์

Article Details

How to Cite
พัฒนสิน ว. . ., & ขันทอง อ. . (2024). กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อสร้างความสมานฉันท์โดยพุทธสันติวิธี: ศึกษากรณี สะพานข้ามเข้าโรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(2), 746–760. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/270137
บท
บทความวิจัย

References

Dispute Settlement Office, Office of the Court of Justice. (2004). Mediation Guidebook. Bangkok: Court of Justice.

Dispute Settlement Office, Office of the Court of Justice. (2004). Dispute Resolution Handbook for the People. Bangkok: Printing House, Jirarat Printing Ltd., Part.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Mediation Center Department of Good Enforcement. (2015). Regulations of the Legal Execution Department on Mediation of Disputes, 2015. No 1. Manual for the Execution of Mediation. Training Documents for Staff at the Mediation Center between 3-15 December 2015. At A-One the Royal Cruise Hotel Pattaya, Chonburi Province.

Online Manager. (2021). "Srisuwan" Leads the Community along Lat Phrao Canal to sue Bangkok Encourages Village Capitalists to Build a Bridge over a Canal. Retrieved September 1, 2021, from https://mgronline.com/politics/detail/9630000065862

Permpool, S. (2014). The Model of the Buddhist Integrated Mediation: The Alternative Dispute Resolution Office of the Judiciary. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2008). Buddhist Dictionary. Dharma Edition. (16th ed.). Bangkok: S.R. Printing Mass Products Co., Ltd.

Phra Dhampiṭaka (P.A. Payutto). (2003). Crumble Conflict. Bangkok. Saha Thammik.

______. (2010). Buddhist Dictionary. (Compiled Version). Bangkok: Sahathamika Company Limited.

Phra Paisan Wisalo. (2013). Buddhist Mediation in Religious Principles and Dispute Mediation, Version 1.2. Alternative Dispute Resolution Center. Dispute Settlement Office, Office of the Court of Justice. Bangkok: Active Print Co., Ltd.

Phrakrupalad Pannavorawat. (2023). Subject of Research Methods (Handout (PPT). Peace Studies Program. Interview. June 25.

Phramaha Hansa Dhammahãso. (2005). A Pattern of Conflict Management by Buddhist Peaceful Means: A Critical Study of Mae Ta Chang Watershed Chiang Mai. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phramaha Hansa Dhammahãso. (2013). Religious Principles and Mediation: A Solution to the Sustainably Problem. Bangkok: Thana Place Company Limited.

Trakankunphan, S. (2009). The Process of Mediation in the Justice Process. Course of Senior Justice Administration (Bor Yor Sor). Bangkok: Class 12, College of Justice, Office of the Court of Justice.

Unipan, J., & Sritrapanan, L. (1999). Nursing Education Management and Graduate Quality. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi, 1(11), 33-37.