การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติกรรมฐานกับจริต 6 ในพระไตรปิฎก

Main Article Content

พระสมุห์สง่าชัย สมรูป
พระมหาจีรวัฒน์ กันจู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติกรรมฐาน 2) เพื่อศึกษาจริต 6 ในพระไตรปิฎก และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติกรรมฐานกับจริต 6 ในพระไตรปิฎก ในการทำวิจัยครั้งนี้ ผู้ทำวิจัยมุ่งศึกษาการศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์การปฏิบัติกรรมฐานกับจริต 6 ในพระไตรปิฎก ผู้ทำวิจัยได้นำหลักธรรมเรื่อง “จริต” ในพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, คัมภีร์วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆษะรจนา, คัมภีร์วิมมุตติมรรค พระอุปติสสะเถระ รจนา และจากหนังสือทั่วไป เพื่อนำมาเป็นแนวทางประกอบการทำวิจัย ในการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร


ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยพบว่า 1) กรรมฐาน เป็นศาสตร์และศิลป์แห่งการดำเนินชีวิตและเป็นธุระอันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนาเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการปฏิบัติกรรมฐาน คือการบริหารจิตหรือการพัฒนาจิต การฝึกอบรมและพัฒนาจิตอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เรารู้จักการป้องกัน รักษาคุ้มครองจิตด้วย จากอกุศลธรรมและความเครียดที่เกิดกับร่างกายและจิตของเรา เพื่อให้จิตมีความเข้มแข็งมั่นคงสามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานทุกหน้าที่ทุกอาชีพและก่อให้เกิดสุขภาพจิตที่ดี 2) กิริยาอาการความประพฤติของบุคคลโดยทั่วไปเรียกว่า จริต ในทางพระพุทธศาสนาจำแนกจริตไว้ 6 อย่าง ได้แก่ ราคจริต ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจแห่งราคะ โทสจริต ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจแห่งโทสะ โมหจริต ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจแห่งโมหะ สัทธาจริต ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจแห่งศรัทธา พุทธิจริต ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจแห่งปัญญา และวิตกจริต ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจแห่งวิตก และ 3) ความสัมพันธ์ของจริตกับหลักปฏิบัติกัมมัฏฐานเมื่อฝึกปฏิบัติโดยการใช้อารมณ์ของสมถกัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กล่าวมาแล้ว สมาธิระดับต้น คือ ขณิกสมาธิย่อมเกิดขึ้น เมื่อได้หมั่นฝึกจิตบ่อยๆ จิตก็จะตั้งมั่นมากขึ้น จนกระทั่งเป็นอุปจารสมาธิแล้ว ถ้าหากไม่ท้อถอย หมั่นประคองรักษาสมาธิที่ได้นั้นไว้ ในที่สุดจิตก็ย่อมถึงความสงบตั้งมั่นปักดิ่งในอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่งแนบแน่นเต็มที่จนเป็นอัปปนาสมาธิ เมื่อจิตเป็นระดับอัปปนาสมาธิแล้วองค์ฌานก็จะเกิดขึ้น เอาองค์ฌานนั้นเป็นบาทฐานในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน นอกจากการใช้องค์ฌานเป็น บาทฐานในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ยังสามารถใช้อารมณ์สมถกัมมัฏฐานบางหมวดเป็นบาทฐานเพื่อการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานจนสามารถบรรลุอรหัตผลได้ เช่น การปฏิบัติในอสุภะ อนุสสติ จตุธาตุววัฏฐาน อาหาเรปฏิกูลสัญญา

Article Details

How to Cite
สมรูป พ. ., & กันจู พ. . (2024). การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติกรรมฐานกับจริต 6 ในพระไตรปิฎก. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(2), 619–627. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/270106
บท
บทความวิจัย

References

Department of Religious Affairs. (2007). Tripitaka for the People Section on Sutra. (3rd ed.). Bangkok: Agricultural Cooperative Assembly of Thailand.

Phra Athikarn Prakasit Suciṇṇo (Klinchuen). (2022). An Analysis of the Relationship between Mindfulness and Awareness in Tipitaka. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phra Brahmakunabhorn (P.A. Payutto). (2007). Buddhist Dictionary Dharma Edition. (15th ed.). Bangkok: Chanpen Publishing House).

Phra Dharmakosacarya (Buddhadasa Bhikkhu). (2007). Vipassana in Work. Bangkok: Mental Health.

Phra Sorapong Paññātarō (Jullapho). (2018). A Study of Personality According to Six Intrinsic Natures of a Person of the Buddhist Faculty’s Students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University: A Classroom of Watchaichumpolchanasongkram Kanchanaburi Province. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Somdet Phra Phuthajan (Arch Asabha Mahathera). (2003). Wisuddhimag. (4th ed.). Bangkok: Prayurawong Printing.

Tasonthi, S. (2012). 1 Month to See the Mind to Nirvana. (1st ed.). Nonthaburi: Think Beyond Books.

______. (2012). How did the Arhat Disciples Achieve Dharma. Nonthaburi: Think Beyond Books.