แนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินการงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 2) เพื่อศึกษาสภาพสภาพปัจจุบันของการจัดการความรู้ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 3) เพื่อเปรียบเทียบสภาพแนวทางพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย จำนวน 644 ราย โดยการกำหนดขนาดโดยใช้สูตรยามาเน่ ที่ได้จากการตอบแบบสอบถามกลับมา จำนวน 260 ราย ใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งประกอบด้วยวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติเชิงอนุมานทดสอบ สถิติ t-test และ F-test (One-way ANOVA) ตามวิธีของ LSD
ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลยด้านต่างๆ โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุ 41-50 ปี สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท 2) สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการจัดเก็บความรู้ รองลงมา คือ ด้านการถ่ายทอดความรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการกำหนดความรู้ ตามลำดับ 3) ผลการเปรียบเทียบสภาพแนวทางพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย พบว่า มีความคิดเห็นเปรียบเทียบความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Butdee, S. (2012). The Development of a Causal Relationship Model between Selecting Factors, Organizational Commitment and Employee Performance in the Steel Pipe Industry Group Organization. King Mongkut's Journal of North Bangkok, 26(2), 289-298.
Chalothorn, J. (2011). Enhancement of Community Enterprise Efficiency to Create Local Strength in Bo Thong District, Chonburi Province: A Case Study of Ban Klong Mue Sai Agricultural Housewives Group. (Master’s Thesis). Business Administration Kasetsart University. Bangkok.
Chantawongsri, W. (2004). Factors Affecting the Success of Community Enterprise Groups, Kantharawichai District, Maha Sarakham Province. (Master's Thesis). Khon Kaen University. Khon Kaen.
Chimplee, K. (2012). Knowledge Management Model of Local Wisdom in Wicker Handicrafts: A Case Study of Community Enterprises. (Doctoral Dissertation). National Institute of Development Administration. Bangkok.
Community Organizations Development Institute. (2020). CODI History. Retrieved July 5, 2022, from https://web.codi.or.th
Department of Agricultural Extension. (2005). Community Enterprise.Retrieved July 5, 2022, from https://www.doae.go.th
Ngamlamom, W. (2015). Concepts and Theories Related to Demographic Characteristics 2016. Retrieved August 25, 2022, from http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blogpost_11.html
Phongphit, S. (2005). Thinking from Master Plan to Community Enterprise. Bangkok: Charoenwit Phim.
Seritrakul, W. (2007). Model of e-Learning Adoption: Case Study in Bangkok University Undergraduate Students. (Research Reports). Bangkok: Bangkok University.
Srithong, N. (2015). The Process of Building a Strong Community That is Self-reliant and Sustainable. Bangkok: Odeon Store.
Taifahphlu, Th. (2015). Attitudes and Expectations towards Lifestyle and Brand Consumption of Consumers Aged 40 and over in Bangkok. Dhurakij Pundit Communication Arts Journal, 1(9), 117-151.
Thaveechan, S. (2008). Study on the Study of Ways to Increase the Efficiency for Development, Carrying Out Local Food Business, Case Study: Sausage Business, Community Enterprise, Farmers' Group Ban Phon Privatization, Suksawat Subdistrict Deputy, Phrai Bueng District Sisaket Province. (Research Report). Sisaket: Sisaket Rajabhat University.
Veerapat, W. (2009). Teachers' Knowledge and Awareness towards Students' Self-employment. (Master's Thesis). Chandrakasem Rajabhat University. Bangkok.
Wisawakul, N. (2017). Guidelines for Developing the Operational Potential of Community Enterprises. (Research Report). Chiang Mai: Chiang Mai University.