ระบบวิธีพิจารณาและการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีเลือกตั้ง

Main Article Content

ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม
สมภพ ระงับทุกข์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาหลักการพื้นฐานในระบบวิธีพิจารณาและการแสวงหาข้อเท็จจริง 2. ศึกษาระบบวิธีพิจารณาและการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีเลือกตั้ง และ 3. เสนอแนวทางการพัฒนาระบบวิธีพิจารณาและการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีเลือกตั้งให้มีความเหมาะสมกับประเทศไทย โดยใช้การวิจัยเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายนำมาศึกษาวิเคราะห์ตามขอบเขตของการวิจัย และนำเสนอสรุปการวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า หลังประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง เมื่อมีเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ต้องยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาวินิจฉัย โดยศาลจะใช้ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเป็นหลักในการพิจารณาและวินิจฉัยคดีเลือกตั้ง ส่วนวิธีพิจารณาใดซึ่งระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะ ศาลจะนำบทบัญญัติในกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ ทั้งนี้ในการพิจารณาคดีของศาลกระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าคู่ความทำให้พยานในคดีเกิดความกลัวจึงไม่มาให้การสืบพยานในชั้นศาล หรือมาศาลแต่ไม่ยอมให้การหรือกลับคำให้การ ทำให้ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของผู้ร้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aunmai, Ph. (2007). Adjudicating Cases in Absentia: Studying Exceptions and Issues of Trial in Absent. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.

Bunrat, N. (2016). The Issues Concerning the Evaluation Methods of Auditing Organizations and the Adjudication of Disputes in Local Election Cases. (Master’s Thesis). National Institute of Development Administration. Bangkok.

Chittakasem, N. (2008). The Role of Associate Judge in the Central Intellectual Property and International Trade Court: A Particular Study in Criminal Case Adjudication. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.

Chutiwong, Kh. (2001). The Legal Description of Witness Characteristics. Bangkok: Nitibannakarn.

Kongtrakul, K. (2003). The Inquisitorial System in the Thai Administrative Court Procedure Law. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.

Neville, L. B., & John, S. B. (1998). French Administrative Law. (5th ed.) Oxford: Clarendon.

Phakeerat, W. (2003). Procedure of the Constitutional Court Comparative Study of Cases of Foreign Constitutional Courts and the Thai Constitutional Court. Bangkok: Winyuchon Publication House.

Phakeerat, W. (2011). Administrative Law, General Section. Bangkok: Nitirat.

Pinweera, W. (2007). The Role of Judges in Criminal Trial. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.

Pongsuwan, P. (2002). General Principles of Law Concerning the Adjudication Methods of Administrative Cases. Administrative Courts Journal¬¬, 2(2), 95-143.

Rathamarit, U. (1997). Public Trial: Principles and Exceptions under French Criminal Procedure Law. Thammasat Law Journal, 20(1), 68-69.

Soontronviphat, V. (2015). The Problem in Investigation System to Use with Administrative Case in the Location of Intellectual Property and International Trade Court. (Master’s Thesis). National Institute of Development Administration. Bangkok.