รูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักคุณธรรมและความโปร่งใส ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

พงษ์สยาม มาสุข
ชวนคิด มะเสนะ
นเรศ ขันธะรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการบริหารงานบุคคล  ตามหลักคุณธรรมและความโปร่งใสของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักคุณธรรมและความโปร่งใสของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 222 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 4 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดี โดยการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ปฏิบัติงานที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดี ด้านการบริหารงานบุคคล จำนวน 3 คน และผู้แทนจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการการบริหารงานบุคคลตามหลักคุณธรรมและความโปร่งใสของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักคุณธรรมและความโปร่งใสของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 1. หลักการของรูปแบบ ได้แก่ หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และหลักการสร้างค่านิยมร่วมขององค์กร 2. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เพื่อเป็นแนวทางการยกระดับการบริหารงานบุคคลตามหลักคุณธรรมและความโปร่งใสให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นแนวทางให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้นำรูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักคุณธรรมและความโปร่งใส ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงาน 3. วิธีดำเนินการของรูปแบบ ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 ด้านงานวางแผนอัตรากำลัง การกำหนดตำแหน่งและงานวิทยฐานะตามหลักคุณธรรมและความโปร่งใส องค์ประกอบหลักที่ 2 ด้านงานสรรหาและบรรจุแต่งตั้งตามหลักคุณธรรมและความโปร่งใส องค์ประกอบหลักที่ 3 ด้านการธำรงรักษาและบำเหน็จความชอบตามหลักคุณธรรมและความโปร่งใส และองค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย 1. ด้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ 2. ด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก 3. ด้านการประพฤติปฏิบัติตนที่เหมาะสม 4. ด้านการตรวจสอบความถูกต้องชัดเจน 5. ด้านการปรับปรุงกลไกการทำงานให้มีความโปร่งใส 4. การประเมินผลรูปแบบ ได้แก่ การประเมินกระบวนการบริหารงานบุคคล    ตามหลักคุณธรรมและความโปร่งใส และการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ และ 5. เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ การสร้างจิตสำนึกที่ดีขององค์กร การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบร่วมกัน การนำเทคโนโลยี    มาใช้ในการสื่อสาร การตรวจสอบข้อมูลและขั้นตอนดำเนินงาน การพัฒนาระบบด้านเทคโนโลยีโดยใช้แพลตฟอร์มที่หลากหลาย ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ พบว่า ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\tilde{x} = 4.91, S.D.= 0.30) และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.84, S.D.= 0.36)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Act Amendment to the Order of the Head of the National Council for Peace and Order No. 19/2017. Subject: Education Reform in the Regions of the Ministry of Education, dated 3 April B.E. 2517 B.E. 2022. (2022). Royal Gazette. Volume 139, Chapter 69 A, Page 18, 8 November 2022.

Chankan, P. (2020). Personnel Management of Schools in the Educational Quality Development Network Center, Nong Bun Mak 2, Nong Bun Mak District, Nakhon Ratchasima Province. Journal of MCU Nakhondhat, 7(6), 295-296.

Charoensuk, B., Kongthiang, S., Ekphet, Ch., & Rinthaisong, I. (2009). Development of School Administrative Models According to Good Governance in Basic Educational Institutions in the Southern Provinces. Upper Part, 12th National Graduate Research Conference, 218-222.

Chulalongkorn University. (2010). Good Management According to Good Governance Principles, Good Governance. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House, 18.

Chumphon Primary Educational Service Area Office 1. (2021). Analysis Report, Merit Assessment and Transparency in the Operations of the Online Education Service Area Office Annually Budget 2020, Chumphon Primary Educational Service Area Office, Region 1. Chumphon: Chumphon Primary Educational Service Area Office 1.

Congressional Budget Office. (2021). Guidelines for Preventing and Reducing Budget Losses from Corruption. Bangkok: The Secretariat of the House of Representatives.

Khonsangiam, S., & Phetsombat, P. (2021). Personnel Management of School Administrators under the Office of Nakhon Nayok Primary Educational Service Area. Journal of MCU Nakhondhat, 8(5), 211-212.

Nakhon Pathom Municipality. (2018). Integrity and Transparency Assessment Report of Local Government Organizations by Unit (Integrity and Transparency Assessment: ITA) Mueang District, Nakhon Pathom Province for the Year Budget 2017. Nakhon Pathom: Nakhon Pathom Municipality.

Office of the Basic Education Commission. (2019). Report on the Analysis of the Evaluation Results of Merit and Transparency in the Operations of Government Agencies (Integrity and Transparency Assessment: ITA) Fiscal Year 2019. Bangkok: Office of the Commission Basic Education.

Parameechai, T. (2018). Personnel Management According to the Principles of Good Governance of School Administrators under the Office Kalasin Primary Educational Service Area 2. (Master’s Thesis). Mahamakut Buddhist University. Nakhon Pathom.

Saram, W., & Petchsombat, P. (2020). Personnel Management of Educational Institution Administrators in Pathumthani Primary Educational Service Area. Pathumthani University Academic Journal, 12(1), 142-143.

Thadakukulwong, N., Anannawee, P., & Jiraro, P. (2021). Management Style Development Personal Jobs for Bilingual Schools of Private Schools. Journal of MCU Nakhondhat, 8(2), 373-376.

Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 2. (2021). Personnel Management Report under the Office of Ubon Ratchathani Primary Education Service Area 2 for the Year Budget 2021. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 2.