กระบวนการฝึกเจริญสติในชีวิตประจำวัน ผ่านการโค้ชที่มีสติเป็นฐาน

Main Article Content

วราภรณ์ ศิริโอวัฒนะ
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ บริบท สภาพปัญหา ความจำเป็นด้านการฝึกเจริญสติของประชาชนในชุมชน วัดใหม่ (ยายแป้น) และแนวคิด ทฤษฎีการฝึกเจริญสติในชีวิตประจำวัน ผ่านการโค้ชที่มีสติเป็นฐาน ตามแนวทางศาสตร์สมัยใหม่ 2. เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนากระบวนการฝึกเจริญสติในชีวิตประจำวันผ่านการโค้ชที่มีสติเป็นฐาน 3. เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการฝึกเจริญสติในชีวิตประจำวัน ผ่านการโค้ชที่มีสติเป็นฐานสำหรับประชาชนในชุมชน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการลงพื้นที่ ประสานพลัง บ ว ร ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เรียนรู้สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม สัมภาษณ์เชิงลึก วิพากษ์กระบวนการก่อนนำไปพัฒนากลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ได้การเจริญสติในรูปแบบทางพุทธศาสนา บูรณาการร่วมกับทฤษฎีสมัยใหม่ ทำให้ได้เครื่องมือในการฝึกเจริญสติผ่านการโค้ช นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ดังนี้


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาของชุมชน วัดใหม่ (ยายแป้น) มาจากสภาพเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ความเครียด ไม่สามารถหาทางออกของปัญหาและขาดที่พึ่งทางด้านจิตใจ จึงจำเป็นต้องฝึกสติพัฒนาจิต ให้เกิดสุขภาวะภายใน 2. กระบวนการฝึกเจริญสติในชีวิตประจำวัน ตามหลัก สติปัฏฐาน 4 โดยการฝึกสติให้รู้เท่าทัน กาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อนำมาพัฒนาจิตให้เกิดปัญญา เมื่อเกิดทุกข์ขึ้น สติจะเป็นตัววิเคราะห์ทุกข์ หาสาเหตุ(สมุทัย) กำหนดเป้าหมาย(นิโรธ) และหาวิธีการแก้ไข(มรรค) แล้วนำหลักธรรม ภาวนา 4 มาบูรณการ ให้เข้าใจทุกข์ตามเป็นจริง เกิดการตระหนักรู้ด้วยปัญญา 3. พัฒนาและนำเสนอ โดยออกแบบกิจกรรม “ปลูกสติ สร้างสุข เพื่อความสำเร็จ” ลงไปพัฒนากลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ได้คือ กระบวนการที่ได้ผล ประเมินผลในเชิงพฤติกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงประจักษ์ องค์ความรู้ที่ได้  คือ โมเดล “ปลูกต้นแห่งสติ” เป็นการฝึกเจริญสติ เข้าถึงได้ง่าย ประกอบด้วยการพัฒนา 5 ด้าน 1) กายเจริญ รักและเมตตาเห็นคุณค่าในตน 2) ศีลเจริญ ประพฤติดีทั้งการพูดและการกระทำ เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน และสังคม 3) จิตเจริญ พัฒนาจิต เกิดสุขภาวะภายใน 4) ปัญญาเจริญ เกิดการตระหนักรู้ด้วยปัญญาแจ่มแจ้ง 5) กัลยาณมิตรโค้ช ช่วยเหลือ เกื้อกูลในการฝึกฝนปฏิบัติให้เกิดความต่อเนื่อง เจริญงอกงาม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Department of Mental Health, Ministry of Public Health (2007). Thai Mental Health Indicator Version 2007. Retrieved April 1, 2023, from https://dmh.go.th/test/thaihapnew/ thi15/asheet.asp?qid=1

Elizabeth, H. (2022). Mindfulness-based Stress Reduction vs Escitalopram for the Treatment of Adults with Anxiety Disorders. Retrieved April 3, 2023, from https://ctc.georgetown.edu/elizabeth-hoge/

Kanjanataweewat, C. (2022). A Model of Developing an Ideal Leader Coach in Peace by Buddhist Peaceful Means. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Phra Nakhon Si Ayutthaya.

Mahidol University. (2018). Health Information Bangkok Noi Model Project. Retrieved August 3, 2022, from https://bangkoknoimodel.com/ลงพื้นที่เก็บข้อมูล/ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสุข-5/

Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammcitto). (2019). Religions and Sustainable Development Goals. (2nd ed.). Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Phra Paisal Visalo (Wongworawisit). (2008). Chalard Tum Jai. (3rd ed.). Bangkok: Med Sai Printing.

Phrakrupalad Pannavoravat (Hansa Dhammahaso). (2022). Sciences and Art of Creating True Happiness. Retrieved August 3, 2022, form https://online.fliphtml5.com/jbbzk/wswo/#p=12

Phramaha Hansa Dhammahaso (Nithiboonyakorn) (2018). The Integration of the Knowledge in Field of Peace for Developing Peace Building Process in Thai Society. Journal of MCU Peace Studies, 6(3), 1254-1266.

Thaisriwichai, T., & Phuchareon, W. (2019) The WHY of Coaching. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Thongpae, W. (2019). A Development of Self Coaching on Contemplative Education Training Program for Instructional Chang of Students Intern on Teaching Profession. Journal of Humanities and Social Sciences, Valaya Alongkorn, 14(1), 302-314.

World Happiness Report. (2022). Happiness Score. Retrieved June 1, 2022, from https://worldhappiness.report/ed/2022/