การพัฒนาศักยภาพแม่ชีไทยในพุทธศาสนาเถรวาท ด้านการส่งเสริมการรู้พุทธศาสนาและการขับเคลื่อนการทำงานทางศาสนาของชุมชนสตรีในสังคมไทย

Main Article Content

อรชร ไกรจักร์
พระมหานุกูล อภิปุณฺโณ
กนกอร ก้านน้อย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพแม่ชีไทยในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษารูปแบบด้านการส่งเสริมการรู้พุทธศาสนาและการขับเคลื่อนการทำงานทางศาสนาของชุมชนสตรีที่ปรากฎในสังคมไทย และ   3) เพื่อเสนอการพัฒนาศักยภาพแม่ชีไทยในพุทธศาสนาเถรวาทด้านการส่งเสริมการรู้พุทธศาสนาและ        การขับเคลื่อนการทำงานทางศาสนาของชุมชนสตรีในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์    เชิงลึกจำนวน 20 คน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 44 คน นำเสนอในลักษณะการพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) แม่ชีไทยมีศักยภาพในการทำงานด้านการศึกษา การบริการสังคมสงเคราะห์ และการเผยแผ่ศาสนา และแม่ชีไทยมีความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพตนเองด้านความรู้ในภาษาบาลีและ     การปฏิบัติกรรมฐาน 2) รูปแบบการส่งเสริมการรู้พุทธศาสนาได้กำหนดเป็นการอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพแม่ชีไทยหัวข้อบาลีในชีวิตประจำวันและกรรมฐานในชีวิตประจำวัน 3) การพัฒนาศักยภาพแม่ชีไทยด้านการส่งเสริมการรู้ภาษาบาลีและการปฏิบัติกรรมฐาน ผลการอบรมพบว่า คะแนนความรู้ความเข้าใจ     หลังการอบรมสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด ผลประเมินการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ การประเมินวิทยากร และประเมินการจัดกิจกรรมอบรม ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด และพบว่าการนำความรู้ไปใช้ในการขับเคลื่อนการทำงานทางศาสนา ได้แก่ การสอนธรรมะ การนำสวดมนต์ การนำปฏิบัติกรรมฐาน และงานอื่นที่สำนักแม่ชีและวัดร่วมจัดกิจกรรม ภายใต้การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน เป้าหมายเดียวกัน    ทำให้เกิดการสนับสนุนและส่งเสริมจิตวิญญาณ เพื่อประโยชน์แห่งตน พระพุทธศาสนาและสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chulvanich, S., & Wattanapradit, K. (2019). Women and Sangha: A Study of Ways for Women’s Participation in the Development of Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Journal of MCU Peace Studies, 7 (Supplement Issue), S122-S135.

Cook, J. (2010). Meditation in Modern Buddhism: Renunciation and Change in Thai Monastic Life. Cambridge: Cambridge University Press.

Falk, L. M. (2007). Making Fields of Merit: Buddhist Female Ascetics and Gendered Orders in Thailand. Copenhagen: NIAS Press.

Fukitkan, C. (2016). Human Resource Development. Bangkok: SE-Education, Plc.

Machee Nathathai Chatinawat. (2021). Thai Nun Status: A Case study of Wat Park Num Bhasichroen. Journal of Graduate Studies Review, 17(1), 124-143.

Machee Sunee Neamsawas, Kamolsukudom, N., Hassanet, J., & Chayrassameegul, W. (2015). A Study Strategic Preparation Plan for Thai Nun for Asean Economic Community in B.E. 2558. Journal of Yanasangvorn Research Institute, 6(1), 31-42.

Machee Khitsana Raksachom, K., & Seeger, M. (2013). The Problems and Solutions on the Higher Education Access for Thai Nuns. (Research Report). Research Project Funded by Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

McCathy, D. (2013). Using 9-Box the Performance and Potential Matrix to Assess and Develop Talent. Durham: The University of New Hampshire.

Metheeworachat, W. (2020). Buddhist Method Development of Personnel Potential of Local Administrative Organizations, Nakhon Sawan Province. Journal of Graduate Review Nakhon Sawan Buddhist College, 8(1), 443-454.

Nipakasem, U. et al. (2021). A Study of Lay Person’s Role in Promoting Buddhism as Found in Theravada Buddhism Scriptures. Journal of Prajna Ashram, 3(1), 1-12.

Phromtha, S. (1994). Women in Buddhism. Journal of Buddhist Studies Chulalongkorn University, 1(3), 38-51.

Pilouk, P. (2020). Guidelines for Adaptation and Role of Buddhist Female Priests in Thai Society 4.0 Era. Journal of MCU Nakhondhat, 7(9), 409-420.

Sirarojjananan, M. (2017). Nun: Woman Who Guides the Way of Love. Journal of Graduate Studies Review, 13(2), 160-175.

Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A. Payutto). (2022). Dharma Collection Book: Human Potential Is the Beginning of Buddhism. Retrieved October 27, 2022, from https://www.payutto.net/book-content/

Suwanbuppha, P. (2002). Nuns and Educational Missions in Thailand. Bangkok: Office of the National Education Commission.

Thai Nuns Institute. (2019). 50 Years Thai Nuns Institute. n.p.