แนวทางการสื่อสารสำหรับบุคลากรต่างวัยในองค์กรตามหลักพุทธสันติวิธี

Main Article Content

วาสนา โชติชะวารานนท์
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทและสภาพปัญหาการสื่อสารของบุคลากรที่มีความแตกต่างระหว่างวัยของกองตรวจราชการและหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการสื่อสารที่มีความแตกต่างระหว่างวัย 2) เพื่อนำเสนอแนวทางสื่อสารสำหรับบุคลากรต่างวัยในองค์กรตามหลักพุทธสันติวิธี รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบภาคสนาม เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือบุคลากรกองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในกลุ่ม Gen B, X, Y, Z จำนวน 14 คน วิเคราะห์ผลด้วยอุปนัยวิธี


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพบริบทและปัญหา คือ มีพื้นที่มีหลายชั้น จึงเกิดความห่างเหินกัน มีบุคลากรหลายช่วงวัย จึงมีประสบการณ์และการรับรู้ที่แตกต่างกัน การสื่อสารทางตรงน้อยลง ทำให้มีปัญหาการสื่อสารระหว่างวัย เกิดความไม่เข้าใจกัน 2) แนวทางสื่อสาร คือ (1) การสื่อสารเพื่อป้องกันความขัดแย้งจากความแตกต่างระหว่างวัย ในฐานะผู้ส่งสาร และผู้รับสาร ด้วยจิตเมตตา อ่อนน้อม ตรงประเด็น และจริงใจ (2) การสื่อสารเมื่อเกิดความขัดแย้ง ด้วยการสื่อสารตรง แบบไม่เป็นทางการ แสดงท่าทีด้วยความเคารพให้เกียรติ มีกิจกรรมสร้างสัมพันธ์ องค์ความรู้จากงานวิจัย ทำให้พบแนวทางในการสื่อสารของบุคลากรในองค์กร ด้วยหลักสัมมาวาจา และหลักการมีส่วนร่วมกันอย่างสันติสุข คือ Attitude การสื่อสารด้วยทัศนคติทางบวก ได้แก่ A - Advice : แนะนำสิ่งมีประโยชน์ T - Telling พูดสุภาพ พูดความจริง ไม่พูดยุแยง ไม่พูดเพ้อเจ้อ T - teaching การสอนงาน I - Integrated การบูรณาการงาน T - Trust : มีความจริงใจ ไว้วางใจกัน U - Understand การสื่อสารกันด้วยความเข้าใจ D- Determination ความตั้งใจ ตั้งมั่น ร่วมกัน E - Empathy : การสร้างพลังใจ ด้วยความเมตตา จะกระตุ้นให้เกิดกำลังใจในการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chompikul, J., Suthisukon, P., Sueluerm, K., & Dammee, D. (2009). Relationship in Thai Families (Report Research). ASEAN Institute for Health Development: Mahidol University. Nakhon Pathom.

Mansumitrchai, P. (2016). A Model of Nonviolent Communication through Buddhist Psychology. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajvidyalaya University. Ayutthaya.

Na Nakorn, S., Wattanapradith, Kh., & Bannaruji, B. (2019). A Process of Communication for Building Peaceful Organizations by Buddhist Peaceful Means. Journal of MCU Peace Studies, 7(2), 447-464.

Phra Anurak Anurakkhito (Rattham), Phrakrukositwatthananukul, & Phrakrukosolartthakit. (2019). An Analytical Study of the Benefit of Right Speech Sammawaca in Family Institution of Kanlayaneesithammarat School’s Students in Nakhon Si Thammarat Province. Journal of Social Science and Cultural, 3(2), 28-40.

Phramaha Hansa Dhammahãso. (2011). Sammavacha: Speak Well, Do Good, Society Is Good. (1st ed.). Bangkok: 21st Century Print.

Chusakpanish, Ch. (2017). Buddhist Communication of the Noble Eightfold Path for Generation Y. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Bangkok.

Wattanasathiensin, Ph. (2016). Factors that Affect Communication Problems within an Organization: A Case Study of United Standard Terminal Plc. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.

Moeikhanmak, P. (2016). Corporate Communication to Build an Employee Engagement Improvement. (Master’s Thesis). National Institute of Development Administration. Bangkok.

Swangsri, S. (2022). The Process of Peace Innovation in Communication for Empowering New Normal Leaders. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.