กระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยจิตอาสาเพื่อจัดการความขัดแย้งของครอบครัวในชุมชนวัดใหม่ (ยายแป้น) โดยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

สุวรรณี เนตรรักษ์สกุล
อดุลย์ ขันทอง

บทคัดย่อ

บทความการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยจิตอาสาเพื่อจัดการความขัดแย้งของครอบครัว       ในชุมชนวัดใหม่ (ยายแป้น) 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนา ผู้ไกล่เกลี่ย   จิตอาสาเพื่อจัดการความขัดแย้งของครอบครัวในชุมชนวัดใหม่(ยายแป้น) 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยจิตอาสาเพื่อจัดการความขัดแย้งของครอบครัวในชุมชนวัดใหม่(ยายแป้น) โดยพุทธสันติวิธี ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบอริยสัจโมเดล ภายใต้กรอบบันได 9 ขั้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณได้แก่ พระสงฆ์ ครู ผู้นำชุมชน และจิตอาสาในชุมชน จำนวน 15 ท่าน พื้นที่ชุมชนวัดใหม่(ยายแป้น) โดยการสัมภาษณ์ ฝึกอบรม ปฏิบัติการไกล่เกลี่ยในชุมชนและประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอเชิงพรรนณาและเชิงสถิติ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนวัดใหม่ (ยายแป้น) มีความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว ชุมชนบ้าน วัด และราชการ กันน้อยมาก อีกทั้งชุมชนยังไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ยังต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภายนอกและภาครัฐ 2) หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยจิตอาสาเพื่อจัดการความขัดแย้งของครอบครัวในชุมชนวัดใหม่ (ยายแป้น) โดยพุทธสันติวิธี ได้แก่ หลักไตรสิกขา หลักพรหมวิหาร 4 และหลักสังคหวัตถุ 4 3) กระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยจิตอาสาเพื่อจัดการความขัดแย้งของครอบครัวในชุมชนวัดใหม่ (ยายแป้น) โดยพุทธสันติวิธี มีความต้องการจำเป็นต่อครอบครัวในชุมชน โดยการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยจิตอาสาในชุมชนให้มีความรู้ มีคุณสมบัติและทักษะด้านการจัดการความขัดแย้งในครอบครัว 3 ประการ คือ ไตรสิกขา พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 โดยได้พัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ย “MEDIATION Model” 9 ขั้นตอน คือ 1. ตั้งสติให้พร้อมสรรพ 2. ดับอารมณ์คู่กรณี 3. เน้นที่การฟัง/สื่อสารให้ลึกซึ้ง 4. ตรึงให้อยู่ในประเด็น  5. เข็ญวิธีการให้สอดรับ 6. ปรับทัศนคติเทียมเท่า 7. ดึงเข้าสู่จุดสนใจ 8. ให้มีทางเลือกเพิ่ม และ 9. เสริมสร้างความสัมพันธ์ ผลการประเมินหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bernard, M. (2010). Dynamic in Conflict Resolution [Medical Doctor]. (Tanteerawong, Translator). Bangkok: Kobfai.

Buranasingh, T., Phramaha Hansa Dhammahaso, & Phra Pramote Vadakovido. (2020). A Judicial Public Mediation Model for People by Buddhist Peaceful Means: Case Study of Sawai Sub-District, Prang Ku District, Sri Sa Ket Province, (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Chotisakulrat, P., Maneekaw, N. (2016). Peace Building Communication: Turning Conflict into Creative Power. Nakhon Pathom: Human Rights and Peace Studies Institute, Mahidol University.

Department of Rights and Freedoms Protection. (2022). Strategy for 20 Years (2017-2036) Dispute Mediation Act 2019. Retrieved January 10, 2022, from http//www.rlpd.go.th

Fisher, R., Ury, W., & Patton, B. (1991). Getting to Yes: Negotiating Agreement without Giving in. 2nd ed., Massachusetts, USA: Houghton Mifflin Harcourt.

Hellriegel, D., & Slocum, J. W. (2002). Management: A Competency-based Approach. Ohio: Cincinnati.

Kanchanakamol, U. (2008). Community Development Based on Community Assets and Aesthetic Questions. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.

Lappitakmongkol, P. et al. (2019). A Development of Mediator Characteristics at Samutprakarn Provincial Court by Buddhist Peaceful Means. Journal of MCU Peace Studies, 7(5), 1283-1295.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Moore, Ch. W. (1947). Summary of the Mediation Process: Practical Strategies for Resolving Conflict. (4th ed.). San Francisco: Jossey-Bass Publishers.

NESDC (Office of the National Economic and Social Development Council). (2018). Document Summarizing the Master Plan under the National Strategy (2018-2037) No. 22: Law and Justice Process (pp. 134). Retrieved June 22, 2023, from https://www.bic.moe.go.th/images/stories/pdf/National_Strategy_Summary.pdf

Phra Anurak Anurakkhito (Ratthatham). (2023). A Model Youth Leaders Through Moral Training by Buddhist Peaceful Means in Nakhon Si Thammarat Province. Journal of MCU Peace Studies, 11(2), 667-680.

Phramaha Hansa Dhammahaso (Nitibunyakorn). (2004). Water War of the Mae Ta Chang Basin, Chiang Mai: Concept and Tools for Conflict Management in Buddhist Perspective. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phramaha Hansa Dhammahaso (Nitibunyakorn). (2023). Buddhist Peaceful Means: Integration of Principles and Tools for Conflict Management. Bangkok: Prayoorasanthai Printing.

Pratheuangrattana, C. (2022). Mediation by Mediator; The Path to Managing Conflict by Creating Mutual Understanding Office of Peace and Good Governance. Bangkok: Office of Peace and Good Governance, King Prajadhipok's Institute.

Sa-nguanchom, P., & Phra Pramote Vadakovido. (2022). A Model of Development of Prototype Facilitative Leaders for Peace by Buddhist Peaceful Means. Journal of MCU Peace Studies, 10(7), 133-143.

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt Brace & World.

Thabvongse, C. (2019). Handbook of Negotiator. Bangkok: Sangchan Printing.

Tyler, R. W. (1949). Basic Principle of Curriculum Instruction. Chicago: The University of Chicago Press.

UNESCO. (2022). Peace, Justice and Strong Institutions: Promote Peaceful and Inclusive Societies for Sustainable Development, Provide Access to Justice for All and Build Effective, Accountable and Inclusive Institutions at All Levels. Retrieved January 10, 2023, from https://www.globalgoals.org/goals/16-peace-justice-and-strong-institutions/

Wattanasub, W. (2012). Conflict: Principles and Resolution Tools. (4th ed.). Khonkan: Kangnana Wittaya Press.