ทุนทางสังคมกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน

Main Article Content

ปัณณิกา งามเจริญ

บทคัดย่อ

ทุนทางสังคมมีความสำคัญมีความสำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากคือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของเกษตรกรในชุมชนทำให้เกิดพลังของการรวมกลุ่มมากขึ้นในการทำงาน เนื่องจากสมาชิกจะมีการพึ่งพาอาศัยกัน การแลกเปลี่ยนทางสังคมและได้รับผลประโยชน์ตอบแทนร่วมกัน ทำให้ชุมชนและสมาชิกในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจนสามารถพึ่งพาตนเองได้


บทความเรื่อง ทุนทางสังคมกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบทุนทางสังคมในกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผักอินทรีย์ ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อเสนอแนวทางการใช้ทุนทางสังคมในการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ผู้ศึกษาได้ใช้วิธีการศึกษาแบบคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างควบคู่ไปกับศึกษาจากเอกสาร โดยศึกษาจากกลุ่มเกษตรกรที่นำแนวคิดการทำเกษตรอินทรีย์มาปรับใช้ในพื้นที่การเกษตรของตน โดยเป็นเจ้าของ ผู้ร่วมก่อตั้ง หรือผู้จัดการไร่ ที่มีประสบการณ์ในการปลูกผักอินทรีย์มากกว่า 5 ปี ขึ้นไป อาศัยและที่มีพื้นที่ทำการเกษตรตั้งอยู่ใน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 9 คน


 ผลการวิจัยพบว่า 1) ทุนทางสังคมและองค์ประกอบพื้นฐานของทุนทางสังคมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ แหล่งทุนทางสังคมเกิดจากสมาชิกในครอบครัวเครือญาติและเพื่อนสนิทที่มีความสนิทสนมคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี รูปแบบความสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ในแนวนอนที่ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ในขณะที่ทุนทางสังคมภายนอกชุมชนเป็นความสัมพันธ์ในแนวดิ่งที่มีลำดับชั้นหรืออำนาจที่แตกต่างกันผ่านสถาบันหรือองค์กรที่เป็นทางการ และการกระทำทางสังคมของกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผักอินทรีย์เน้นจากการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ เช่น การทำกิจกรรมกลุ่ม การอบรม การเรียน 2) แนวทางการใช้ทุนทางสังคมในการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ประกอบไปด้วย ค้นหาสาเหตุของปัญญา การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในขั้นปฏิบัติการ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Christoforou, A. (2013). On the Identity of Social Capital and the Social Capital of Identity. Camb J Econ, 37(4), 719-736.

Eawsriwong, N. (2000). Social Capital, Strong Community Book Series No. 3. Bangkok: Social Fund Office, Savings Bank.

Hunnak, C. et al. (2016). Building a Strong Community through the Learning Process in Organic Farming. Bangkok: Rajamangala University of Technology Rattanakosin.

International Institute for Management Development. (2022). World Competitiveness Ranking 2022. Retrieved June 20, 2023, from https://www.imd.org/centers/wcc/world-competitiveness-center/rankings/world-competitiveness-ranking/

Office of the National Economic and Social Development Board. (2016). Draft 20-Year Strategy. and the Directional Framework of the National Development Plan. Retrieved March 15, 2023, from https://www.project-wre.eng.chula.ac.th

Office of the National Economic and Social Development Council. (2019). Poverty and inequality Report 2019. Retrieved March 12, 2023, from https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20201103111407.pdf

Office of the National Economic and Social Development Council. (2022). The National Economic and Social Development Plan 13th 2022. Retrieved May 15, 2023, from https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/88_13.pdf

Sriwichailamphun, T. (2013). Community Economic Development. Chiang Mai: Faculty of Economics, Chiang Mai University.

Thailand Development Research Institute Foundation. (2015). A Project to Study Farmers' Indebtedness and Ways to Improve the Operational Potential of the Fund under the Supervision of the Ministry of Agriculture and Cooperatives. Bangkok: Thailand Development Research Institute Foundation.

Wannathanang, K. (2010). Social Capital and Knowledge Provision for Self-reliant Communities. (Doctoral Dissertation). Department of Public Policy, Graduate School: National Institute of Development Administration. Bangkok.