กระบวนการพัฒนาจิตอาสาสมาคมรวมไทยในฮ่องกงเพื่อยกระดับการให้บริการแรงงานไทยโดยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

บังอร ธรรมสอน
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ บริบท สภาพปัญหา ความจำเป็น แนวคิดทฤษฎีกระบวนการพัฒนาจิตอาสาสมาคมรวมไทยในฮ่องกงตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาจิตอาสาสมาคมรวมไทยในฮ่องกง 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาจิตอาสาสมาคมรวมไทยในฮ่องกงเพื่อยกระดับการให้บริการแรงงานไทยโดยพุทธสันติวิธี งานวิจัยนี้เป็นรูปแบบอริยสัจโมเดลสอดคล้องกับการวิจัยและพัฒนา ภายใต้กรอบการดำเนินการวิจัยตามแนวทางของบันได 9 ขั้นตอน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มจิตอาสาสมาคมรวมไทยในฮ่องกงและองค์กรเครือข่ายซึ่งมีการพิจารณาจากผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดจำนวน 20 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์จำนวน 30 รูป/คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มเพื่อรับรองกระบวนการพัฒนาจำนวน 10 รูป/คน และนำมาวิเคราะห์อธิบายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาคมรวมไทยในฮ่องกงเกิดจากการรวมตัวของคนไทยร่วมกันทำงานจิตอาสาด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้วิจัยค้นพบปัญหาของจิตอาสา คือ ขาดทักษะการให้บริการ ขาดความเข้าใจการทำงานเป็นทีม และขาดการนำหลักธรรมที่นำมาประกอบทำงาน จึงมีความจำเป็นที่ต้องนำแนวคิดศาสตร์สมัยใหม่ที่สอดรับกับปัญหาที่พบมาพัฒนาให้กับจิตอาสาสมาคมรวมไทยในฮ่องกงเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมาย 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตอาสาสมาคมรวมไทยในฮ่องกงเพื่อยกระดับการให้บริการแรงงานไทยโดยพุทธสันติ พบว่า หลักสังคหวัตถุ 4 เป็นหลักธรรมที่พัฒนาจิตอาสาสมาคมรวมไทยในฮ่องกงให้มีคุณลักษณะในการให้บริการ 4 ประการ คือ ปรับใจ (ทาน) ปลูกปัญญา (ปิยวาจา) พัฒนาโพธิจิต (อัตถจริยา) และผลิตสุขสู่สังคม (สมานัตตตา) 3) ผู้วิจัยค้นพบองค์ความรู้ใหม่ในกระบวนการพัฒนาจิตอาสาสมาคมรวมไทยในฮ่องกงเพื่อยกระดับการให้บริการแรงงานไทยโดยพุทธสันติวิธี คือ “MAESHE Model” ประกอบด้วย ด้านสันติภายใน (Mindfulness) ด้านจิตอาสาตื่นรู้ (Awakened mind) ด้านทำงานเป็นทีม (Empowered teamwork) ด้านการบริการ (Service mind) ด้านสิทธิมนุษยชน (Human rights) ด้านการสื่อสาร (Empathic communication) โดยจิตอาสาสมาคมรวมไทยในฮ่องกงต้องเป็นผู้ที่ “ให้ดี พูดดี จิตดี และวางตนดี”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kongpoonshap, S. (2017). An Application of Buddhadhamma in the Volunteer Spilitual Works. Journal of Roi Kaensarn Academi, 2(1), 1-14.

Phansiri, Ph., & Pinyong, S. (2016). Self-development for Being a Volunteer. Retrieved May 5, 2021, from http://pws.npru.ac.th/pheerathano/data/files/บทที่%203%20การพัฒนาตนเองเพื่อความเป็นผู้มีจิตอาสา.pdf

Phramaha Chakrapol Acharashubho (Thepa). (2022). Buddhadhamma of Peace. International Journal of Early Childhood, 14(3), 5961-5972.

Phramaha Theerayuth Jittapunyo, Phra Pramote Vadakovidho, & Phramaha Hansa Dhammahāso. (2021). A Model of Youth Leader Development Volunteerism in Accordance with the Buddhist Peace Method: A Case Study at Mueang Trang District, Trang Province. Journal of MCU Peaces Studies, 9(3), 965-975.

Saengwattanarerk, Ch., Phramaha Hansa Dhammahāso, & Phra Pramote Vādakovidho. (2021). The Process of Developing Women Leaders in Volunteering for Taking Care of the Dependent Elderly: A Case Study of Sawai Subdistrict, Prang Ku District, Sisaket Province. Journal of MCU Peaces Studies, 8(3), 897-910.

Tamasorn, B. (2012). Report on Lessons Learned for Foreign Domestic Helpers in Hong Kong, Social Justice Development Project for a Healthy Society, Thai Health Promotion Foundation. Bangkok: Social Research Institute Chulalongkorn University.

Thai Consulate General (Labour Section) in Hong Kong. (2021). Report on Problems of Thai Foreign Domestic Helpers. Retrieved October 10, 2021, from https://hongkong.mol.go.th/news

Thai Regional Alliance in Hong Kong. (2021). Report on Lessons Learned of Hong Kong Foreign Domestic Helpers, Social Justice Development Project for a Healthy Society. Bangkok: Social Research Institute, Chulalongkorn University.

The Mission for Migrant Workers. (2013). Live-in Policy Increase Female FDW's Vulnerability to Various Types of Abuse. Central, Hong Kong: The Mission for Migrant Workers.