การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาภูมินิเวศธรรมชาติผ่านกระบวนการจัดการความรู้ร่วมกับชุมชนพื้นที่ทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ สุเทพ ดีเยี่ยม
พระมหาเทวประภาส มากคล้าย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการจัดการความรู้ภูมินิเวศธรรมชาติในพื้นที่ชุมชนทุ่งแสลงหลวง 2. วิเคราะห์ แนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ภูมินิเวศธรรมชาติ ในพื้นที่ชุมชนทุ่งแสลงหลวง และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภูมินิเวศธรรมชาติผ่านกระบวนการจัดการความรู้ร่วมกับชุมชนพื้นที่ทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้มีบทบาทในพื้นที่ 30 คน รวมถึงการสนทนากลุ่มเฉพาะ 10 คน


ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุมชนพื้นที่ทุ่งแสลงหลวงแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ ชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขต และชุมชนในพื้นที่รอยต่ออุทยานแห่งชาติ, ชุมชนเขตพื้นที่ผ่อนปรน และชุมชนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตามมาตรา 16 ชุมชนมีการเคลื่อนไหวทางสังคม ถ่ายทอดและส่งต่อองค์ความรู้ ในการเฝ้าระวัง ป้องกันรักษา และสามารถนำมาพัฒนาเป็นกระบวนการ ในการจัดการความรู้ภูมินิเวศธรรมชาติได้ 2. องค์ประกอบที่สำคัญต่อการพัฒนาฯ คือ จุดแข็งจากด้านเศรษฐกิจชุมชน, ด้านสังคมแห่งการเรียนรู้ รวมถึงด้านความรู้และการ   ถ่ายถอดความรู้ 3. จากการวิเคราะห์ SWOT ปัจจัยภายในและภายนอก และสังเคราะห์ TOWS matrix เพื่อกำหนดองค์ประกอบที่สำคัญต่อปัจจัยความสำเร็จเชิงกลยุทธ์ ในการพัฒนาภูมินิเวศธรรมชาติผ่านกระบวนการจัดการความรู้ฯ สามารถนำมาจัดทำเป็นรูปแบบกลยุทธ์ หรือองค์ประกอบที่สำคัญที่เหมาะสมต่อการนำไปปฏิบัติจริง ได้ 7 ด้าน 47 กลยุทธ์การพัฒนา ซึ่งสามารถกำหนดเรียงลำดับที่เหมาะสมในการนำไปปฏิบัติจากผลการวิจัย สอดคล้องกับหลักธรรมที่ค้นพบจากการวิจัย คือ อิทธิบาท 4 และ ปัญญา 3 ได้แก่ ฉันทะ เสริมการบ่งชี้ความรู้, วิริยะ เสริมการสร้างและแสวงหาความรู้, จิตตะ เสริมการจัดความรู้ให้เป็นระบบ, วิมังสา เสริมการประมวลและกลั่นกรองความรู้, จินตามยปัญญา เสริมการเข้าถึงความรู้, สุตมยปัญญา เสริมการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และภาวนามยปัญญา เสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนทุ่งแสลงหลวง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Encroachment Problems (People Dimension). (Research Report). Bangkok: Institute of Ombudsman Studies Thailand.

Baubangpu, P. (2018). Guidelines for Management of Sustainable Eco-Tourism: A Case Study of KhaoKhitchakut National Park, Chantaburi Province, Chantaburi Province. Rajabhat Rambhai Barni Research Journal, 12(2), 91-101.

Huttasin, N., & Dinkoksung. S. (2018). Development of Ecotourism Pattern in Ban Leam Sawan, Ubon Ratchathani Province, Bangkok. Area Based Development Research Journal, 10(3), 243-260.

Ingkhaphatthanakun, W. (2005). Conservation of the Natural Environment and Cultural Heritage. Bangkok: Silapakorn University.

Khuttiya, T. (2020). The Conservation Tourism Management of Mueang Kai Sub-District, Mae Taeng District, Chiang Mai Province. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Kongbangkerd, A. (2009). Survey of Orchids at Thung Salang Luang National Park, Phitsanulok. Phitsanulok: Naresuan University.

Phonphutthiphan, W. (2022). Integrated Ecotourism Promotion Policy for Local Economy Development Foundations of Sustainable Foundations in Khao Kho District, Phetchabun Province. Journal of Humanities & Social Sciences, 39(1), 97-117.

Sangphukieo, N. (2022). The Eco-Tourism Management of Khao Kho District in Phetchabun Province, KhonKaen Province. Neu Academic and Research Journal, 10(3), 265-278.

Srimek, S., & Sueprasertsith, C. (2021). Guidelines for Sustainable Eco-Tourism Management Approaches in Perspectives of Entrepreneurs on Samed Island, Amphoe Mueang, Rayong Province, Chonburi Province. Journal of Public Administration and Politics Burapha University, 10(2), 109-125.

Tumlangka, S. (2013). Local Wisdom - Based Model to Build up Community Strength in Chiang Rai Province. (Doctoral Dissertation). Chiang Rai Rajabhat University. Chiang Rai.