การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อลดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจยุคนิวนอร์มอลของคนไทยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในศตวรรษที่ 21 ด้วยพุทธวิถี

Main Article Content

พระราชปริยัติวิมล
พระครูปลัดสุริยะ ชวนปญฺโญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนารูปแบบ 2. เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนารูปแบบ 3. เพื่อนำเสนอคู่มือการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อลดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจยุคนิวนอร์มอลของคนไทยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในศตวรรษที่ 21 ด้วยพุทธวิถี (ใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4) โดยศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ศูนย์สาธิตและส่งเสริมงานศิลปาชีพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ สกลนคร จำนวน 632 ศูนย์ฯ จำนวนประชากรทั้งหมด 1,392 คน ได้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยโดยคำนวณจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 311 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .91 และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรในศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ศูนย์สาธิตและส่งเสริมงานศิลปาชีพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 17 คน รวมถึงจัดให้มีการสนทนากลุ่ม โดยเลือกผู้ทรงคุณวุฒิแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเป็นนักวิชาการศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ศูนย์สาธิตและส่งเสริมงานศิลปาชีพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 2 คน นักการศึกษาที่ปฏิบัติงานในศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ศูนย์สาธิตและส่งเสริมงานศิลปาชีพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด จำนวน 4 คน และผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ศูนย์สาธิตและส่งเสริมงานศิลปาชีพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 คน รวม 10 คน


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อลดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจยุคนิวนอร์มอลของคนไทยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในศตวรรษที่ 21 ด้วยพุทธวิถี (ใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4) ได้แก่ ด้านสังคม ด้านจิตใจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ 2. การสร้างรูปแบบการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อลดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจยุคนิวนอร์มอลของคนไทยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในศตวรรษที่ 21 ด้วยพุทธวิถี (ใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4) ประกอบด้วย 4 ด้าน 22 ตัวชี้วัด ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ทุกองค์ประกอบและทุกตัวบ่งชี้ผ่านเกณฑ์ สามารถนำไปใช้ได้ และ 3. คู่มือการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อลดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจยุคนิวนอร์มอลของคนไทยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในศตวรรษที่ 21 ด้วยพุทธวิถี (ใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4) ความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านประโยชน์จากการนำคู่มือไปใช้ รองลงมา คือ ด้านรูปแบบและการใช้ภาษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านรูปเล่ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bank of Thailand. (2020). Isaan's Workers Were Making their Way Home, How to Adapt to the COVID-19 Crisis. Retrieved October 30, 2021, from https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/bot-magazine/Phrasiam-64-2/global-trend-64-2-2.html

Bhanthumnavin, D. (2015). Antecedents of Mindful Risk-Taking Behavior in Secondary School Students: A Path Analytic Approach. Journal of Behavioral Science, 21(1), 75-94.

Jaileawma, P. (2020). A Study of New Normal Living Behaviors During the COVID-19 Crisis Appearing on the Social Media. (Bachelor of Thesis). Naresuan University. Phitsanulok.

Ministry of Education. (2009). The 2nd Decade of Education Reform. Bangkok: Printing House of Agricultural Cooperative Federation of Thailand Co., Ltd.

Phatthiyathani, S. (2003). Educational Measurement. (4th ed.). Kalasin: Prasan Printing.

Phongphit, S. (2007). Community Enterprise: Basic Economic Mechanism. Bangkok: Adison Press Products.

Phrabrahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2007). A Constitution for Living. (4th ed.). Bangkok: National Office of Buddhism.

Srisaad, B. (2002). Preliminary Research (Revised Edition). (7th ed.). Bangkok: Suweeriyasan.

Tantiwetchakul, S. (2007). The Serf Taught Children. Bangkok: Matichon.

Trissanarungsee, R. (2021). Transformation for Success of Working in the New Normal According to Buddhism. Journal of MCU Humanities Review, 7(2), 357-369.

UNICEF Thailand. (2015). Situation Analysis of Adolescent Pregnancy in Thailand. Retrieved May 15, 2021, from https://www.unicef.org/thailand/media/1131/file

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.