แนวทางการทำโคกหนองนาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนตามหลักพุทธสันติวิธีของเกษตรกรต้นแบบ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพบริบท ปัจจัยที่ส่งผลให้การทำโคกหนองนา สู่การพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนของเกษตรกรต้นแบบในอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ และหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการทำโคกหนองนาให้ประสบความสำเร็จ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการการทำโคกหนองนา สู่การพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนตามหลักพุทธสันติวิธีของเกษตรกรต้นแบบในอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบภาคสนามเครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตการณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประชาชนทั่วไป 3 คน และเกษตรกรต้นแบบ 3 คน รวม 6 คน วิเคราะห์ด้วยวิธีอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) พื้นที่ส่วนใหญ่ขาดแคลนน้ำทำเกษตรทำนาได้ปีละครั้ง ทำให้รายได้ครัวเรือนน้อย เกษตรกรส่วนใหญ่จึงมีปัญหาเรื่องรายจ่ายมาก มีพื้นที่ว่างเปล่าแต่ไม่ได้ถูกพัฒนาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะยึดติดกับการปลูกพืชแบบเดิม ไม่ได้ปรับการปลูกพืชผลที่เหมาะกับสภาพในพื้นที่ ปัญหาของการเกษตรกรอำเภอปรางค์กู่ คือ นิยมใช้สารเคมีทำการเกษตรต้นทุนสูง ปัจจัยที่ส่งผลให้การทำโคกหนองนา ของเกษตรกรต้นแบบในพื้นที่ประสบความสำเร็จ คือ การมีความรู้เรื่อง อากาศ ดิน น้ำ รู้จักทำบัญชีครัวเรือน ออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการ พุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการทำโคกหนองนาให้สำเร็จและยั่งยืน คือ หลักอิทธิบาท 4 2) เกษตรกรต้นแบบได้นำหลักอิทธิบาท 4 มาเป็นแนวทาง 1. มีความสนใจในสิ่งที่จะทำนั้นอย่างจริงจัง 2. การเอาใจใส่ในขณะที่กระทำสิ่งนั้นๆ 3. การมีใจที่เป็นสมาธิในขณะที่กระทำสิ่งนั้นๆ 4. การที่มีจิตใจมุ่งมั่น และแน่วแน่ในขณะที่กระทำสิ่งนั้นๆ ในการทำโคกหนองนาให้ประสบความสำเร็จ เรียนรู้เพื่อพัฒนาพื้นที่อย่างมีสติและปัญญา เกษตรกรต้นแบบสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยการทำโคกหนองนาได้อย่างแท้จริงโดยนำหลักอิทธิบาท 4 มาใช้ทำโคกหนองนา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chantanee, A., & Changcharoen, Ch. (2020). Buddhism and Sufficiency Economy Philosophy. Journal of Management Science Review, 22(2), 241-250.
Isarangkun Na Ayuthaya, Ch., & Thampiya, P. (2014). Self-sufficiency toward Sustainable Development, Follow in His Majesty's Footsteps. (12th ed.). Bangkok: Amarin Corporations Public Company Limited.
Khetnimit, R. (2023). Farmer of Doo Sub-district. Interview. April, 9.
Naradee, Th. (2023). Farmer of Ku Sub-district. Interview. April, 10.
Phramaha Hansa Dhammahãso, Phrakrupalad Adisak Vajirapañño, Sakabucha, S., & Phophichit, N. (2022). A Model of the “Khok Nong Na” Buddhist Agriculture Development by Peace Studies Model for Sustainable Development: A Case Study of Sisaket Province. Journal of MCU Peace Studies, 10(1), 48-64.
Phramaha Hansa Dhammahãso, Phrakrupalad Adisak Vajirapañño, Sakabucha, S., & Phophichit, N. (2022). Concept of “Khok Nong Na Model” for Sustainable Development. Journal of Arts Management, 6(1), 419-434.
Thaweechat, S. (2023). Farmer of Toom Sub-district. Interview. April, 8.