การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้นำชุมชนชาวพุทธ รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย โดยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

ณัฏฐกิตติ์ ชัยเฉลิมมงคล
พระธรรมวัชรบัณฑิต
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้นำชุมชนชาวพุทธ และ 2) เพื่อพัฒนาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้นำชุมชนชาวพุทธ รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 19 ท่าน และชุดปฏิบัติการสร้างการมีส่วนร่วมกับนักวิจัยท้องถิ่นเครือข่ายผู้นำชุมชนชาวพุทธ ในรัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย 15 ท่าน วิเคราะห์ผลด้วยอุปนัยวิธี


ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจากการฟื้นคืนของพระพุทธศาสนาอีกครั้ง โดย ดร. บี. อาร์. อัมเบ็ดการ์ เมื่อปี พ.ศ. 2499 แม้ว่าจะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อกระแสการตื่นตัวของเครือข่ายพุทธในอินเดีย แต่การก้าวข้ามการแบ่งชั้นวรรณะด้วยการเปลี่ยนศาสนา แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับหลักธรรมอันแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ความไม่เข้มแข็งขององค์กรสงฆ์ในฐานะผู้นำจิตวิญญาณของชาวพุทธ ความหลากหลายของกลุ่มชาวพุทธทำให้ขาดเอกภาพในการขับเคลื่อนงาน หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนผู้นำชาวพุทธ คือ พรหมวิหารธรรมเพื่อการสันติภายในของผู้นำ หลักปาปณิกธรรม เพื่อการบริหารสำหรับผู้นำ หลักสาราณียธรรมเพื่อเสริมสร้างความรักสามัคคีในหมู่ผู้นำเพื่อเสริมสร้างเครือข่ายสังคมชาวพุทธ หลักอปริหานิยธรรม: การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้นำชาวพุทธ 2) การพัฒนาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้นำชุมชนชาวพุทธ รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย ได้ชุดปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายชุมชนผู้นำชาวพุทธ ผ่านกระบวนการ 9 กิจกรรม ตามวงจร P-A-O-R ผลของการจัดกิจกรรมผ่านการมีส่วนร่วม นำไปสู่ความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้นำชุมชนชาวพุทธอย่างประจักษ์ชัดและสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้อย่างยั่งยืน องค์ความรู้วิจัย คือ กรอบแนวคิด “Buddhabhoomi Framework”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ambedkar, P. Y., & Ambedkar, A. (2022). Heir of Dr. Ambedkar. Interview. October, 7.

Chaichalermmongkhon, N. (2019). Buddhist Community Leaders Development Guideline to Strengthen Buddhist Society by Buddhist Peaceful Means in State of Maharashtra, India. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.

Kanchanakonka, A. (2022). Biography of Dr. Bhimrao Ramji Amphetkar (Dr. Ambedkar). Retrieved December 26, 2022, from http://huexonline.com/knowledge/15/38

Laverack, G. (2007). Health Promotion Practice: Power and Empowerment. London: Sage Publication.

Malik, K. (2023). Actor, Buddhist Activist, and Local Researchers. Interivew. August, 3.

Na Nongkai, S. (2013). Concepts about Strategic Management in Health System Development. 53708 Strategic Management in Health Development. Bangkok: Sukhothai Thamma thirat Open University.

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2003). Leadership. Bangkok: Sahadhammik Printing.

Phra Dharmakosacarya. (2005). Buddhist Management Methods. Bangkok: Mahachulalongkornrajvidyalaya Universiry Printing.

Phra Theppavaramethi. (2022). Vice-rector for Administration, Mahachulalongkornrajvidyalaya University. Interview. February, 25.

Phramaha Phirat Dhammatepo. (2018). Eastern Political Philosophy. Bangkok: Mahachulalongkornrajvidyalaya University.