การพัฒนาสัปปายะสถานที่เอื้อต่อการพัฒนายุวชนโดยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

ศิริขวัญ แววนิลานนท์
พระมหาวีรศักดิ์ อภินนฺทเวที
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น แนวคิดทฤษฎีและ  หลักพุทธสันติวิธีในการพัฒนาสัปปายะสถานที่เอื้อต่อการพัฒนายุวชน 2) เพื่อนำเสนอการพัฒนาสัปปายะสถานที่เอื้อต่อการพัฒนายุวชนโดยพุทธสันติวิธี ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก 30 คน การสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 16 คน และทำแบบสำรวจความพอใจจากยุวชนจำนวน 340 คน วัดผลด้วยการประมาณค่า 3 ระดับ วิเคราะห์ผลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เชิงคุณภาพด้วยอุปนัยวิธี


ผลการพบวิจัยพบว่า 1) สถานที่ที่เอื้อต่อการอบรมยุวชนในปัจจุบันมีจำนวนน้อย เจ้าของโครงการสามารถพัฒนาสถานที่ได้โดยประยุกต์แนวคิด หลักการออกแบบสถาปัตยกรรม ร่วมกับหลักสัปปายะ 7 2) การพัฒนาสัปปายะสถานที่เอื้อต่อการพัฒนายุวชนโดยพุทธสันติวิธี ทำได้โดยพัฒนาสถานที่ให้มีลักษณะดังนี้ 1) วางผังแม่บทให้เป็นไปตามธรรมวินัย วางภูมิสถาปัตย์ให้ร่มรื่น พื้นที่ใช้สอยเพียงพอ เหมาะกับช่วงวัย ถูกกฎหมาย สะอาด ปลอดภัย 2) แก้ไขผลกระทบที่เกิดจากสถานที่ตั้งโครงการ การสัญจรเหมาะสม 3) มีโสตสื่อดี มีเสียงตามสาย มีสถาปัตยกรรมเป็นสื่อสอนธรรม 4) มีพื้นที่ทำงานและพื้นที่พักผ่อนรองรับบุคคลทุกกลุ่ม 5) มีโรงครัวเพื่อให้มีอาหารที่ถูกสุขลักษณะ รสชาติดี 6) อากาศเย็นสบาย และ 7) มีพื้นที่รองรับกิจกรรมแบบนั่งสมาธิ และกิจกรรมเรียนรู้ด้วยตนเอง ผลของความพอใจของยุวชนที่มีต่อแบบจำลองสัปปายะที่เอื้อต่อการพัฒนายุวชน พบว่า ยุวชนมีความพึงพอใจตามลำดับดังนี้ พื้นที่กายภาพ (gif.latex?\bar{x}  = 2.93; S.D. = 0.28) พื้นที่ปัญญา (gif.latex?\bar{x}  = 2.84; S.D. = 0.39) พื้นที่การเรียนรู้ (gif.latex?\bar{x}  = 2.77; S.D. = 0.45) มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (gif.latex?\bar{x}) = 2.93, 2.84 และ 2.77, S.D. = 0.28, 0.39 และ 0.45 องค์ความรู้ที่ได้ คือ 7S Plus 3 Model

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaiyapan, U., Boonchai, P., & Phothibat, P. (2018). Youth Training Centers: The Development of Curriculum and Training Immorality and Ethics, Nakhon Ratchasima Province. Ratchaphruek Journal, 16(2), 18-29.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

National Child and Youth Development Promotion Committee. (2017). National Child and Youth Development Plan 2017-2021. (2nd ed.). Bangkok: J. S. Printing.

Namgan, V. et al. (2021). Application of Sappaya 7 Principles in Developing Mediation Teaching Extension for Peace of Society, Institute of Mental Power, Branch 29, Wat Sutthajinda, Nakhon Ratchasima Province. Journal of MCU Ubon Review, 6(3), 437-447.

Office of the National Economic and Social Development Council, Office of the Prime Minister. (2016). National Economic and Social Development Plan 2017–2021. (12th ed.). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council, Office of the Priminister.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2016). Dictionary of Buddhism. (34th ed.) Bangkok: Peace Education Foundation.

Rojanasthien, A. (2017). Design Guidelines for Active Learning of Secondary School in Suburban Bangkok. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.

Sthapitanonda, L. (2006). Architectural Design Program, Architectural Design Theory, Course Document 2501215 ARCH DSGN C/C I Architectural Design Program, Architectural Design Theory. Bangkok: Chulalongkorn University. Thammasat University. Bangkok.

Waituannam. (2021). National Agenda and Development - Solving Thai children's Problems in Every Dimension. Retrieved May 9, 2022, from https://www.dailynews.co.th/articles/638590/

Yaot, S. (2019). Suitable Monastic Areas Development. Journal of Educational Review Faculty of Educational in MCU, 6(2), 200-208.