สันตินวัตกรรมการเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจชุมชน

Main Article Content

ชาญเดช จันทร์สงวน
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปฺญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น แนวคิดทฤษฎีและ  หลักพุทธสันติวิธีในการเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจชุมชน ตำบลปากจั่น อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อพัฒนาสันตินวัตกรรมการเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจชุมชน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน แบบ exploratory sequential design โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก 10 คน สนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน ใช้เกณฑ์คัดเลือกแบบเจาะจง ทดลองนำร่องด้วยการปฏิบัติการอบรมผู้สูงอายุ จำนวน 12 คน วัดผลด้วยแบบประเมินศักยภาพของผู้สูงอายุ วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยค่าสถิติ t-test ประกอบกับ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสะท้อนคิด


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ติดสังคม ต้องการพัฒนาตนเอง พร้อม   ที่จะเรียนรู้ และนำประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีศาสตร์สมัยใหม่ ได้แก่ แนวคิดแบบเติบโต การเสริมสร้างพลังผู้นำ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การมีส่วนร่วมและการบริหารจัดการ โดยนำหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นผู้นำเศรษฐกิจชุมชน คือ พละ 5 ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา 2) การพัฒนาสันตินวัตกรรมการเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจชุมชน ด้วยหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3 วัน และปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุรักษ์ถิ่น 1 เดือน โดยมีเนื้อหาอบรมประกอบด้วย 1) พลังความคิดบวก 2) การสื่อสารและใช้เทคโนโลยีอย่างมีสติและสร้างคุณค่า 3) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และ4) การมีวิสัยทัศน์ที่ดีในการเป็นผู้นำเศรษฐกิจชุมชน ผลการทดลองพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยแบบวัดการเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจชุมชนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่า t = 7.83 องค์ความรู้ที่ได้ “Aging 4G Plus Model” สี่คุณลักษณะเติบโตแห่งการ เสริมสร้างผู้สูงอายุให้เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจชุมชน

Article Details

How to Cite
จันทร์สงวน ช. ., วัฒนะประดิษฐ์ ข. . . ., & วชิรปฺญฺโญ พ. . (2024). สันตินวัตกรรมการเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(1), 297–309. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/269363
บท
บทความวิจัย

References

Bhibulbhanuvat, S., Doungphummes, N., & Sasiwongsaroj, K. (2020). Elderly Use of Risk-free Media: Creating Media Literate Elderly Health Communicators. Journal of Business, Economics and Communications, 15(3), 174-191.

Homsombat, P. et al. (2022). Elderly School: Enhancing Potentials of Elderly in Aging Society. Journal of Educational Innovation and Research, 6(2), 540-551.

Institute for Population and Social Research. (2020). Mahidol Population Gazette 2020. Retrieved August 3, 2022, from https://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr/Contents/Documents/Gazette/Gazette2020TH.pdf

Johnson, R. B., & Christensen, L. (2014). Educational Research Quantitative, Qualitative, and Mixed Approaches. (5th ed.). Thousand Oaks: Sage.

Junthothai, D. (2020). Ageing Society Management: Lessons Learned from Japan. The Journal of Law, Public Administration and Social Science, School of Law Chiang Rai Rajabhat University, 4(1), 159-182.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Makapol, J. (2021). The University of the Third Agein Australia: Implication for Lifelong Learning of the Elderly. Journal Education Silapakorn University, 18(2), 8-20.

Manaratha, S. (n.p.). The Satisfaction towards the Service of Division of Social Welfare, Subdistrict Administrative Organization (SAO) of Mahaphot, Sabot District, Lopburi. Journal of Dual Master’s Degree Program in Public Administration and Business, 1-9. Retrieved October 9, 2022, from http://www.mpa-mba.ru.ac.th/images/Project/treatise_lopburi01_02082021/6124952477.pdf

Office of the National Economic and Social Development Council. (2019). Report of the Population Projections for Thailand 2010-2040 (Revision). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council.

Panyapong, S., Chaisri, A., Doungmala, T., & Prungchaiyaphum, W. (2021). The Working Problems in Economic and Social Issues of the Elderly in Chaiyaphum Province. Udon Thani Rajabhat University Academic Journal, 9(1), 165-180.

Paoro, C. et al. (2021). The Life Potential of the Elderly Age with Value Aging and Quality. Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, 4(3), 245-266.

Pomsuk, L. (2022). Deputy Mayor of Subdistrict Administrative Organization. Interview. January, 2.

Preechajarn. Z., Pattankulchai, W., & Srichompoo, W. (2023). Guidelines for Developing a Growth Mindset of Private School Administrators. Journal of Academic for Public and Private Management, 5(1), 206-222.

Smith, J. & Spurling, A. (1999). Lifelong Learning Riding the Tiger. London: Cassell.

Tashakkori, A., & Teddlie, C. (2003). Handbook of Mixed Methods in Social & Behavioral Research. Thousand Oaks: Sage.