การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตามหลักพุทธสันติวิธี ตำบลหันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

กนกพร เชื่อมสุข
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นและหลักพุทธสันติวิธีในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ตำบลหันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อพัฒนากระบวนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตามหลักพุทธสันติวิธี ตำบลหันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และชุดปฏิบัติการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบตามวงจร P-A-O-R ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 27 ท่าน และกลุ่มนักวิจัยท้องถิ่น 15 ท่าน วิเคราะห์ผลด้วยอุปนัยวิธี สรุปผลแบบพรรณนาโวหาร


ผลการวิจัยพบว่า


1) ตำบลหันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีทรัพยากรทางชุมชน และมีภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น สมาชิกชุมชนตำบลหันตรามีความต้องการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหันตราให้เป็นที่รู้จักปัญหาและจุดอ่อนที่ควรเสริมให้เกิดการพัฒนา คือ การสร้างจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของร่วม การพัฒนาแหล่งสถานที่ที่มีจุดเน้นและดึงดูดนักท่องเที่ยว พร้อมกับรูปแบบการจัดกิจกรรม การประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน คือ หลักสาราณียธรรม 6 ร่วมกับการใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 และวัดผลการพัฒนาด้วยหลักภาวนา 4


 2) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตามหลักพุทธสันติวิธี ตำบลหันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยชุดปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ ตามวงจร P-A-O-R 9 วงรอบ แบ่งเป็น ระยะต้นน้ำ คือ ร่วมวิเคราะห์วางแผนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตำบลหันตรา ระยะกลางน้ำ คือ การลงมือปฏิบัติร่วมกัน ระยะปลายน้ำ คือ การนำแนวปฏิบัติมาปรับใช้ด้วยความตื่นรู้ องค์ความรู้การวิจัย คือ “WE ARE TOGETHER MODEL”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Benjaporn, C. et al. (2021). The Potential Development Approach for Tourism Souvenir Products in Ayutthaya Province. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 17(1), 19-33.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner. (3rd ed.). Geelong Victoria: Deakin University Press.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Phramaha Seksun Akkajaree (Kaewsub). (2013). The Participation of People in Development of Monasteries in Takfa District, Nakhonsawan Province. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Somdet Phra Buddhaghosacariya (Prayut Payutto). (2018). Sustainable Development. 21th ed. Nakornpratom: Wat Nyanavesakavan.

Sonchai, A. et al. (2021). Community Potential Development for Community-based Tourism Through Linkage between Local Economy and Cultural Practices, Bung Nam Tao Sub-district, Phetchabun Province. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(6), 191-200.

Sridee, N. et al. (2013). Model and Processes for Organizing Buddhist Tourism in The Central Region: Processes for Managing Buddhist Arts in Siam for the Beauty of the Mind and Wisdom. (Research Report). Bangkok: National Research Council of Thailand (NRCT) and The Thailand Research Fund (TRF).

Touronthai. (2018) Memorial of Loyalty Hantra Field. Retrieved December 2, 2022, from https://www.touronthai.com/article/2138