สันตินวัตกรรมการพัฒนาระบบนิเวศองค์กรสุจริตเพื่อยกระดับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

Main Article Content

ชนิดา อาคมวัฒนะ
พระธรรมวัชรบัณฑิต
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยแนวคิดทฤษฎีและหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบนิเวศองค์กรสุจริตเพื่อยกระดับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ 2) เพื่อนำเสนอสันตินวัตกรรมการพัฒนาระบบนิเวศองค์กรสุจริตเพื่อยกระดับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research Design) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลเชิงเอกสารและเก็บข้อมูลจากสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 32 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 คน และแบบประเมินความคิดเห็นกลุ่มผู้ใช้เครื่องมือ ITA จำนวน 20 องค์กร วิเคราะห์ผลเชิงคุณภาพด้วยอุปนัยวิธี และเชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบนิเวศองค์กรสุจริตประกอบด้วย ภาวะผู้นำ ทิศทางและการกำหนดยุทธศาสตร์ โครงสร้าง การมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานและการให้บริการ รวมถึงด้านบุคลากร วัฒนธรรมสุจริตในองค์กร และการสื่อสารสร้างการรับรู้ แนวคิดที่ใช้ในการเสริมสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อองค์กรสุจริต ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ การพัฒนาระบบราชการในปัจจุบัน ระบบนิเวศขององค์กร วัฒนธรรมองค์กร หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการเสริมสร้างให้เกิดองค์กรสุจริต คือ หลักปธาน 4 2) สันตินวัตกรรมการพัฒนาระบบนิเวศองค์กรสุจริตเพื่อยกระดับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ มีความสัมพันธ์แบบบูรณาการของการจัดการองค์กรทั้งระบบ มีผู้นำในการถ่ายทอดค่านิยมร่วม มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน โดยการนำหลักปธาน 4 มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาให้เกิดองค์กรสุจริต ด้วยการปรับโครงสร้างรูปแบบวิธีการทำงานและการให้บริการที่ทันสมัย องค์ความรู้วิจัย คือ 7 หลักการร่วม 3 แนวทางการจัดการ และ 3 เป้าหมาย เรียกว่า Peace Innovation for Integrity Ecosystems Transformation สันตินวัตกรรมการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบนิเวศองค์กรสุจริต


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Denhardt, J. V., & Denhardt, R. B. (2015). The New Public Service Serving, Not Steering. London: Imprint Routledge.

Ferlie, E., & Ongaro, E. (2022). Strategic Management in Public Services Organizations Concepts, Schools and Contemporary Issues. London: Imprint Routledge.

Hood, Ch. (1991). A Public Management for All Seasons? Public Administration, 69(1991), 3-19.

National Strategy Secretariat Office, Office of the National Economic and Social Development Board. (2018). National Strategy 2018-2037. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board.

______. (2021). Reform Plan. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board.

Office of the National Anti - Corruption Commission. (2020). Buddhist Teachings and Anti-Corruption Curriculum (Anti–Corruption Education). Nonthaburi: Office of the National Anti - Corruption Commission.

______. (2023). Corruption Situation Report. Nonthaburi: Office of the National Anti - Corruption Commission.

______. (2023). Integrity and Transparency Assessment Manual 2023. Nonthaburi: Office of the National Anti - Corruption Commission.

Phramaha Hansa Dhammahaso. (2013). Buddhist Peaceful Means: Integrating Principles and Conflict Management Tools. Bangkok: 21 Century.