สันตินวัตกรรมเพื่อการเสริมสร้างความศรัทธาในการศึกษาบาลีของสามเณร สำนักเรียนวัดนิมมานรดี

Main Article Content

พระมหาสุนทร ธมฺมสุนฺทโร (เฉลยชัย)
พระธรรมวัชรบัณฑิต
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น แนวคิดศาสตร์สมัยใหม่และหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการเสริมสร้างความศรัทธาต่อการเรียนภาษาบาลีของสามเณร สำนักเรียนวัดนิมมานรดี 2) เพื่อพัฒนาสันตินวัตกรรมการเสริมสร้างความศรัทธาในการศึกษาบาลีของสามเณร สำนักเรียนวัดนิมมานรดี ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการทดลองนำร่อง ใช้สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 22 รูป/คน สนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน ทดลองกับกลุ่มสามเณรวัดนิมมานรดี 15 รูป วัดผลด้วยแบบประเมินแรงจูงใจในการเสริมสร้างศรัทธา การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสะท้อนคิด วิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติ t-test


ผลการวิจัยพบว่า


1) สามเณรยังไม่มีเป้าหมายการเรียนภาษาบาลีเพื่ออะไร เรียนเพราะเป็นการศึกษาภาคบังคับของสำนักเรียน จึงขาดศรัทธาในการเรียน ประกอบกับภาษาบาลีมีความยากและซับซ้อนเมื่อเรียนในระดับที่สูงขึ้น ในขณะที่การจัดการเรียนการสอนที่เน้นแต่ท่องจำ จึงทำให้สามเณรเกิดความท้อ แนวคิดการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แนวคิดจิตวิทยาวัยรุ่น และแนวคิดครูพันธุ์ C โดยมีอิทธิบาท 4 เป็นหลักพุทธสันติวิธีที่เสริมสร้างให้สามเณรมีความรักในการเรียนภาษาบาลีด้วยมีจุดหมายในการดำเนินชีวิต


2) การพัฒนาสันตินวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความศรัทธาในการศึกษาบาลี ด้วยการจัดกิจกรรมเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วัน และปฏิบัติการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง 21 วัน เนื้อหาอบรมมี 6 โมดูล กลุ่มสามเณรที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 15 รูป มีค่าเฉลี่ยนแบบวัดศรัทธาการเรียนภาษาบาลีตามหลักอิทธิบาท 4 ภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่า ค่า t = 2.26 สามเณรเห็นประโยชน์และความสำคัญของการเรียนภาษาบาลี องค์ความรู้วิจัย คือ “WE LOVE PALI Model”

Article Details

How to Cite
ธมฺมสุนฺทโร (เฉลยชัย) พ. ., พระธรรมวัชรบัณฑิต, & วัฒนะประดิษฐ์ ข. . . . (2024). สันตินวัตกรรมเพื่อการเสริมสร้างความศรัทธาในการศึกษาบาลีของสามเณร สำนักเรียนวัดนิมมานรดี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(1), 310–321. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/269360
บท
บทความวิจัย

References

Faculty of Administrative Sciences, Ubon Ratchathani University. (2015). When Teachers from the 19th Century Had to Teach Students to Be Ready for Life in the 21st Century. Retrieved July 19, 2022, from http://km.bus.ubu.ac.th/?p=2397

Government Gazette. (2021). Royal Insingnia Buddhist Scriptures Act 2562 B.E.), Retrieved August 3, 2021, from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/050/T_0011.PDF

Phramaha Kosin Thanavuddho (Faiphonsaen), Saengsai, P., & Sukumal, P. (2021). The Guidelines for Pali Language Learning Management of Novices and Monks in Phrapariyattidhamma School, Pali Division, Khon Kaen Province. Journal of Buddhist Education and Research, 7(2), 237-248.

Phramaha Prajak Kittimeti (Thongdad). (2017). The Development of Instructional Methods and Techniques in the Phrapariyattidhamma Schools on Pali Section. Journal of Yanasangvorn Research Institute, 8(2), 101-112.

Phramaha Saman Dhammavajiro (Wannaphakdee). (2018). The Approaches of Development of Pariyattidhamma School: A Case Study of Wat Awutvikasitaram. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phramaha Yod Abhipuñño (Sopa). (2021). The Successful Learning and Teaching of Pālī. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(2), 122-133.

The Prince Damrong Rajanubhab, (1981). Collection of Writings on Buddhism’s Legends. Bangkok: Rung Raengtham Publishing.