แนวทางการเสริมสร้างศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาตามหลักพุทธสันติวิธี ของชาวพุทธเจเนอเรชั่นวาย

Main Article Content

ภัททิยา คำโยธาภูบดี
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพบริบท ปัญหา สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวพุทธเจเนอเรชั่นวาย และหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการเสริมสร้างศรัทธาของชาวพุทธ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการการเสริมสร้างศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาตามหลักพุทธสันติวิธีของชาวพุทธเจเนอเรชั่นวาย รูปแบบการวิจัยคุณภาพ แบบวิจัยภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บุคคลชาวพุทธเจเนอเรชั่นวายที่มีความศรัทธาและมีบทบาทการเผยแพร่องค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนา จำนวน 9 ท่าน โดยการวิเคราะห์ผล ด้วยวิธีการอุปนัยวิธี


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพบริบท ปัญหา สาเหตุที่ทำให้ไม่ศรัทธา คือ (1) เทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้การรับรู้ข้อมูลรวดเร็วและลัทธิบริโภคนิยมที่ให้ความสำคัญวัตถุมากกว่าคุณค่าทางจิตใจ (2) ศรัทธาที่เปลือกอิงปาฏิหาริย์มากกว่าแสวงหาปัญญา (3) ข่าวพระสงฆ์ที่สร้างความรู้สึกสั่นคลอนในความศรัทธาตามสื่อต่างๆ และ (4) ศรัทธาเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลไม่มีการบังคับให้ต้องศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติ หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการเสริมสร้างศรัทธา คือ หลักโอวาทปาฏิโมกข์ ถือว่าเป็นหลักการพื้นฐานสากล แต่ชาวพุทธเจเนอเรชั่นวายยังไม่สามารถที่จะเข้าใจอย่างถ่องแท้ลึกซึ้งและนำมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลต่อตนเองและสร้างศรัทธาได้ 2) การเสริมสร้างศรัทธา คือ (1) ความสัมพันธ์ใกล้ชิดและพื้นฐานครอบครัว (2) ศรัทธาต่อชาวพุทธต้นแบบ (3) มีความทุกข์ต้องหาทางออก (4) สงสัยใคร่รู้อยากพิสูจน์คำสอน (5) ศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าและศาสนานำสู่การปฏิบัติ แนวทางศรัทธา ได้แก่ 1) ไม่ปล่อยใจวิ่งตามกระแสกิเลส 2) หลักคำสอนที่ร่วมสมัยและเข้าใจถึงภาษาสมัยใหม่ 3) ปรับภาพลักษณ์องค์กรสงฆ์ 4) นำหลักวิชาสมัยใหม่มาร่วมอธิบายเชื่อมโยงกับหลักธรรม (5) ชี้ให้เห็นถึงผลที่จะได้อย่างเป็นรูปธรรม 6) ใช้หลักการและเหตุผลด้วยวิถีแห่งประชาธิปไตย 7) มุ่งเน้นที่หลักคำสอนที่สำคัญไม่เน้นที่พิธีกรรม 8) แสดงถึงพลังกลุ่มของผู้มีศรัทธา องค์ความรู้จากการวิจัย คือ FIPFI วิธีที่นำสู่การเสริมสร้างศรัทธา Key Method B-S-H

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ajjutamanus, W. (2022). Non-religion People in England Is Increasing. So How Is Thailand? Retrieved January 5, 2023, from https://www.bbc.com/thai/articles/clwgdenqlvpo

Kamnerdsiri, Th. (2022). Is It Wrong to have Non-religion? Retrieved January 5, 2023, from https://theactive.net/read/non-religious/

Phra Prasan Jayābhirato (Aramvanich), Khammuangsaen, B., & Phramaha Phocana Suvaco. (2021). Ovādapātimokkha and the Propagation of Buddhism. Journal of Philosophical Vision, 26(2), 216-229.

Phramaha Khwanchai Kittimatee. (2017). Human Beings Need Religion or Religion Needs a Critical Study on Faith and Problem in Theravada Buddhism. Journal of Buddhist Studies Vanam Dongrak, 4(1), 99-106.

Phramaha Ty Issaradhammo (Dhammakij). (2021). A Process of Faith Enhancement of Young Buddhist through Peaceful Innovative Tourism. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajvidhayalaya University. Ayutthaya.

Tapscott, D. (2009). Grown Up Digital: How the Net Generation Is Changing Your World. New York: McGraw Hill.

Waritt, W., Yamcharoen, N., Sudthiluck, V., & Phramedhavinaiyaios. (2017). A Study of Current Communication Pattern of Buddhism to the New Generation in Thailand. Journal of Yanasangvorn Research Institute, 8(1), 87-94.