กระบวนการพัฒนาชุมชนเมืองให้น่าอยู่โดยพุทธสันติวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหา ความต้องการของชุมชน 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธรรมที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนา 3. เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาชุมชนเมือง ให้น่าอยู่โดยพุทธสันติวิธี เป็นงานวิจัยแบบอริยสัจโมเดลสอดคล้องกับการวิจัยแบบปฏิบัติการ ภายใต้กรอบการดำเนินงานวิจัย 9 ขั้นตอน โดยมีเครื่องมือวิจัยคือการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม กลุ่มประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูป/คน โดยแยกออกเป็น 6 กลุ่มประกอบด้วย 1. กลุ่มผู้แทนพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษา ที่วัดใหม่ (ยายแป้น) 2. กลุ่มผู้แทนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 3. กลุ่มผู้แทนหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ 4. กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านพระพุทธศาสนา 5. กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านกระบวนการพัฒนา และ 6. กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านชุมชน และนำมาวิเคราะห์อธิบายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุมชนวัดใหม่ (ยายแป้น) เป็นชุมชนเมืองที่มีความหลากหลายในการดำเนินชีวิต ประกอบกับสังคมในชุมชนเมืองมีความเป็นปัจเจกชน ทำให้เกิดปัญหาที่แต่ละคนรู้จักสิทธิแต่ไม่รู้หน้าที่ ของตนเอง ส่งผลให้ชุมชนเกิด ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการจอดรถกีดขวางเส้นทางสัญจร ปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ปัญหาขาดการเรียนรู้การจัดทำแผนพัฒนาชุมชน ปัญหาการสื่อสารผ่านระบบเสียงตามสาย ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีผลต่อกระบวนการพัฒนา 2. หลักพุทธรรม ที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาชุมชนวัดใหม่ (ยายแป้น) อันจะส่งผลต่อความสำเร็จในกระบวนการพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ชุมชน และวางตนดี เสมอต้นเสมอปลาย 3.กระบวนการพัฒนาชุมชนวัดใหม่ (ยายแป้น) ให้น่าอยู่โดยพุทธสันติวิธี มุ่งให้เกิดกระบวนการครอบคลุมการพัฒนา 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านกายภาพ ด้านพฤติภาพ ด้านจิตภาพ และด้านปัญญาภาพ โดยผู้วิจัยค้นพบ PUSH Model 1) Process ขั้นตอน ประกอบด้วย ปลุก ปรับ ขยับ สลับ ซ้ำๆ และ เสริม 2) Unity ความพร้อมเพียงกัน ความสามัคคีของคนในชุมชน 3) Strength พลังร่วม อันเกิดจากพัฒนาแบบมีส่วนร่วมและเป็นการพัฒนาแบบองค์รวม และ 4) Human happiness คนในชุมชนได้รับการพัฒนา โดยมีเป้าหมายการพัฒนาเพื่อให้คนในชุมชน ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Kaewlai, K., & Ponghanyut, K. (2021). The Development of Public Services to Promote Local Economy through Design Thinking. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.
Kongpoonsap, N. (2017). The Use of Buddhadhamma in Volunteering. Journal of Roi Kaensarn Academi, 2(1), 1-12.
Laemthong, V. et al. (2019). The Principles of Urban Sufficient Community Concept. Bangkok: Dhurakij Pundit University.
Manager Online. (2023). The Top Ten Issues Bangkok Residents Want the New Governor to Solve the Most. Retrieved April 27, 2023, from https://mgronline.com/business/detail/9650000040118
Muangnok, P. (2014). The Process of Urban-Community Management for Establishing the Strength of Community: A Study of Housing Estate Community in Suburban Area. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.
Noiraiphum, J. (2022). The Urban Sufficiency Concept: A Sustainable Urban Design in Thai Pattern. Retrieved August 30, 2022, from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/45093
Office of Strategy and Evaluation of Bangkok. (2018). 20-Year Development Plan for Bangkok (B.E. 2561 – 2580). (Revised ed.). Bangkok: Daoreuk Communications Col., Ltd.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2022). Planning Guideline for Livable and Sustainable Future City: LSFC Guideline. Bangkok: V. J. Printing.
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2018). Dictionary of Buddhism. (34th ed.). Bangkok: Education for Peace Foundation.
Phra Sophon Sopano (Tongsom), Phrakru Kositwattananukul, & Phrakru Wichitsilajarn. (2020). An Application of Four Bases of Social Solidarity into Strengthening Community of Wat Maithungkha, Rattabhumi District, Songkhla Province. Journal of MCU Nakhondhat, 7(3), 15-25.
Piromruen, S. (2007). Sustainable and Livable Urban Design: Theory and Practice. Journal of the Faculty of Architecture, 22(2007), 113-142.
Poonsukcharoen, N. (2018). Guidelines for Sustainable City Development in Buddhist Dimensions: A Case Study of Chiang Mai City. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Rakborisuddhisri, K. (2011). People’s Opinions on the Sustainable Development of Livable City, Saen Suk Municipality, Mueang District, Chonburi Province. (Master’s Thesis). Burapha University. Chonburi.
Sriwisorn, S. (2022). The Process of Building Peaceful Relations by the Principles of Peaceful Means in the Integrated Perspective of Doi Chang Community, Chiangrai Province. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.