การพัฒนาศาสนทายาทเพื่อรักษาพระพุทธศาสนาโดยพุทธสันติวิธี: ศึกษากรณีวัดธรรมมงคลเถาบุญนนทวิหาร กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปวีณา อุดมสถาผล
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความจำเป็นและแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาศาสนทายาทเพื่อรักษาพระพุทธศาสนาตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาศาสนทายาทเพื่อรักษาพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาศาสนทายาทเพื่อรักษาพระพุทธศาสนาโดยพุทธสันติวิธี ของวัดธรรมมงคลเถาบุญนนทวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือวิจัยตามกระบวนการวิจัยตามบันได 9 ขั้น กลุ่มตัวอย่างเป็นสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดธรรมมงคล จำนวน 21 รูป ได้มาโดยการกำหนดขนาดโดยใช้สูตรของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม, แบบสัมภาษณ์, แบบสังเกต และแบบทดสอบ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1. ศาสนทายาทมีปริมาณน้อยลง ขาดความเชื่อมั่นและไม่กล้าแสดงออก ขาดภาวะความเป็นผู้นำ ไม่สามารถกำหนดเป้าหมายในชีวิตได้ ขาดความกระตือรือร้น มีสิ่งเร้าจากภายนอกมาก       เกินความจำเป็น ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รายวิชาเรียน ส่งผลให้สามเณรไม่มีเวลาในการฝึกหัดพัฒนาตนในด้านอื่นๆ โดยมีสภาพปัญหาเชิงโครงสร้าง 2. หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาศาสนทายาทเพื่อรักษาพระพุทธศาสนา คือ หลักพละ 5 ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ใช้หลักธรรมภาวนา 4 เป็นผลลัพธ์ ประกอบด้วย กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา โดยมีหลักไตรสิกขาเป็นเครื่องบ่งชี้ 3. กระบวนการพัฒนาศาสนทายาทเพื่อรักษาพระพุทธศาสนาโดยพุทธสันติวิธี พบว่า ICP Process ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) Inspiration (การสร้างแรงบันดาลใจ) 2) Collaboration (การปฏิบัติร่วมกัน) 3) Production (การสร้างสรรค์นำเสนอ) โดยมีการพัฒนา 6 ด้าน ประกอบ ด้านทักษะชีวิต ด้านแรงจูงใจและเป้าหมายในชีวิต ด้านสันติภายใน ด้านพุทธสันติวิธี ด้านการสื่อสารและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านการเป็นศาสนทายาทต้นแบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Goodship, J. M. (2022). Life Skills Mastery for Students with Special Needs. Retrieved October 11, 2022, from http://www.lib.umi.com/dissertations/fullcit/3001230

Hendricks, P. A. (1998). Developing Youth Curriculum Using the Targeting Life Skills Model: Incorporating Developmentally Appropriate Learning Opportunities to Assess Impact of Life Skill Development. Ames, IA: Iowa State University.

Lapthananon, P. (1986). On Role of Buddhist Religious in Development of Rural Areas in Thailand. Bangkok: Social Research Institute, Chulalongkorn University.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Maxwell, R. (1981). Life After School: A Social Skills Curriculum. New York: Pregamon International Library.

National Statistical Office of Thailand. (2022). Statistics of Religious Personnel and Places of Worship in Thailand. Retrieved September 29, 2000, from http://ittdashboard.nso. go.th/preview.php?id_project=56

Phra Dhammapidok (P.A. Payutto). (1996). How to Develop People (Buddhism and Human Development). (3rd ed.). Bangkok: Buddha Dham Foundation.

Phra Suthat Katasaro (Pratoomgaew). (2013). A Study of the Dhutanga in Buddhiam: A Case Study of the Dhutanga at Wat Phradhammakaya, Pathumthani Province. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phrakhrusutachayaporn (Phramaha Singchai Dhammajayo), & Pramaha Keerati Worakiti. (2014). The Way for Education Management for Buddhism Successor in Thai Society. Nakhon Lampang Buddhist Colleges Journal, 4(3), 3.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer Behavior. (5th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Vitayaudom, W. (2013). Organization Behavior. Bangkok: Theera Film & Scitex.

Woolfolk, A. E. (1995). Educational Psychology. Boston: Allyn and Bacon.