“สีกุก” ในสายธารประวัติศาสตร์ไทย

Main Article Content

ศุภกาณฑ์ นานรัมย์

บทคัดย่อ

สีกุก เป็นชุมชนเก่าแก่มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาและยังได้รับการกล่าวถึงในเอกสารประวัติศาสตร์ของไทยในฐานะค่ายพม่า ครั้งสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310 ด้วยสภาพที่ตั้งชุมชนริมแม่น้ำน้อย หรือ แควสีกุก สามารถเชื่อมการเดินทางไปยังเมืองสุพรรณบุรี ทั้งยังสามารถเดินทางด้วยเรือผ่านคลองบางบาลไปยังเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาได้ ด้วยเหตุนี้ สีกุก จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการตั้งเป็นค่ายเพื่อรับมือกับข้าศึกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม มีความไม่สอดคล้องของข้อมูล ดังเช่น พระราชพงศาวดารของไทยกล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า ค่ายสีกุกเป็นค่ายใหญ่ของพม่า ในขณะที่มหาราชวงษ์ พงศาวดารพม่า ระบุว่า ค่ายสีกุก มีลักษณะเป็นเมือง มีการก่อกำแพงอิฐล้อมรอบอย่างแน่นหนา ครั้นเมื่อมังมหานรธาแม่ทัพพม่าตีค่ายสีกุกแตกแล้วได้เคลื่อนทัพไปตั้งที่บ้านกันนี ปากคลองบางบาลซึ่งเป็นจุดบรรจบของแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อรั้งทัพรอข่าวจากเนเมียวสีหบดีแม่ทัพฝ่ายเหนือ หรือแม้กระทั่งการมรณกรรมของมังมหานรธา ก็มีเพียงพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาฉบับเดียวที่ระบุว่า มังมหานรธาป่วยถึงแก่กรรม ณ วัดสีกุก ซึ่งหลังจากปลงศพแล้ว ให้ก่อพระเจดีย์บรรจุอัฐไว้ นอกจากนี้ สีกุก ยังมีความสำคัญที่ยึดโยงกับการเสด็จประพาสต้นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2449 พระองค์ได้เสด็จประทับแรม ณ วัดสีกุก กลายเป็นความทรงจำทางประวัติศาสตร์อันแข็งแกร่งของชุมชนที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ไทย ปัจจุบันวัดสีกุกเป็นศูนย์กลางของชุมชน มีสิ่งปลูกสร้างที่น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น ศาลมังมหานรธา ศาลาอนุสรณ์ ร.5 เป็นต้น ส่วนบริเวณอันเป็นค่ายพม่านั้น กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานค่ายสีกุกมาตั้งแต่ พ.ศ. 2542

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Aunthaphan, A. (2021). Sikuk Is Not Big Camp of Mangmahanorhatha and Where is Kannee Village. Silpawatthanathum, 42(4), 12-23.

Chronicle Meeting Golden Jubilee Edition No. 3. (1999). Bangkok: Office of Literature and History, The Fine Art Department.

Chulalongkorn, King. (1934). First and Second of King Rama V’s Private Royal Trip Archives. Phranakhon: Sophonphiphatthanakhon Press.

Department of Religion Affair, Ministry of Education. (1985). Nation Wide Temples History 4. Bangkok: Department of Religion Affair Press.

Krung Sri Ayutthaya Testimony Meeting. (2010). Bangkok: Sangdao.

Meepasanee, S. (2022). Wat Sikuk’s Villager. Interview. November 28.

Narathipphaphanpong, Prince. (2007). The Royal Chronicle of Burmese. (2nd ed.). Nonthaburi: Sripanya.

Nay Tor Translate. (2019). The Glass Palace Chronicles. Bangkok: Thai Quality Books (2006).

Phanpee, B. (1993). Importance of the Rivers and Canals in the Lower Chao Phraya River Basin to the Ayutthaya Kingdom. (Master’s Thesis). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Plainoi, S. (2012). Rivers and Canals. Bangkok: Matichon.

Royal Chronicle, Phanchanthanumat Version and Others. (2021). Nonthaburi: Sripanya.

Royal Chronicle, Royal Writing Version. (10th ed.). (2021). Nonthaburi: Sripanya.

Royal Gazette. (2000). Announcement of the Fine Art Department, Subject: Register and Specify Historic Site. Retrieved October 9, 2000, 117 volumes, Special while 104.

Sikuk School. (2023). Sikuk School (Sun Samakhkhiratsadon Wittaya). Retrieved March 24, 2023, from https://data.bopp-obec.info/web/indexkru.php?SchoolID=1014310139

The Prince Damrong Rachanubhap. (1917). Phrachumphongsawadan Past 6, the Chronicle of our Wars with the Burmese. Phranakhon: Aksornnit.

______. (1976). The Private Royal Trip. Bangkok: Silpabannakhan.

The Story of Old Capital. (2nd ed.). (2018). Bangkok: The Fine Art Department.